Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1102
Title: | ชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ |
Other Titles: | The 9 Values Community: The Process of Creating Social Value in Buri Ram Province |
Authors: | พัฒนะสิงห์, ธนันต์ชัย สุขเสน, ภัฏชวัชร์ ไกรสินธุ์, อิสรพงษ์ นามสูงเนิน, พระมหาพรชัย ยศโสธร, วีระชัย |
Keywords: | 9 ดี กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม จังหวัดบุรีรัมย์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | ชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างครอบครัว อบอุ่น ด้วยหลักการ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อสร้างเครือข่าย 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในสังคมไทย 4) เพื่อปลูกฝังค่านิยม 9 ดี :การทบทวน การสร้างองค์ ความรู้และแนวทางการวิจัยด้านค่านิยม 9 ดีของสังคมไทย ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า วิถีชีวิตและอัต ลักษณ์ของชุมชน ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชมชน ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุนชนนี้คือ การยึดถือศิลปะร่วมสมัยกับการผสม วัฒนธรรมด้านศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิต คือ อาศัยพลัง บวร. ในการทำงานและอาศัย ร่วมกัน โดยมีวัด เป็นศูนย์กลางทางจิตใจ ซึ่งในแต่ละปีกิจกรรมที่ทางวัดได้จัดให้ชุมชนและสร้างอัต ลักษณ์ชุมชนออเป็น 3 คือ การนำเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมในด้านรูปแบบและเนื้อหามาใช้ในงานพัฒนา โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ผลสำเร็จของงานพัฒนา การถือเอาวัฒนธรรมเป็นเป้าหมายในตัวเองเป็น เครื่องมือสำหรับการพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่มีมิติของวัฒนธรรมสอดแทรกในเนื้องานทุกอย่าง โดยเฉพาะส่วนคุณค่าในวัฒนธรรมโดยทั้งนี้การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน ยังมีหลักการที่ควร พิจารณาในด้านเนื้อหาและรูปแบบอีก 2 ประเภท คือ 1) ทัศนะแบบการนำเอาวัฒนธรรมเป็น เครื่องมือ โดยมองว่าการพัฒนาจะสามารถนาวัฒนธรรมมาใช้ในลักษณะโครงการพัฒนา โดยเป็น เครื่องมือหรือวิธีการทำงานที่ตอบสนองกับผลประโยชน์และความต้องการของประชาชน และการ ทำงานพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตระบบคิด โลกทัศน์ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมของประชาชน 2 ทัศนะ แบบโครงสร้าง มีความผูกพันอยู่กับโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรมการผลิต กระบวนกากรผลิตและ ผลิตช้ำ โดยการผลิตวัฒนธรรมนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และบริบทต่าง ๆ ของสังคมสำหรับ กระบวนการพัฒนาแนววัฒนธรรมนั้น โดยการอนุรักษ์ คือการดำรงรักษาศิลปวัตถุของประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ในชุมชน โดยคำนึงถึงคุณค่าแก่ชีวิตโดยรวมของชุมชนหมู่บ้าน รวมถึงการค้นหา รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านอื่น ๆ ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานโดยชุมชน 2.การสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมใน จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้าง สร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ความสัมพันธ์ในครอบครัวเกี่ยวกับการสร้างครอบครัว อบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์มีส่วนส่งเสริมซึ่งกัน และกันส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความแข็งแกร่งแน่นแฟ้นจากการอาศัยอยู่ในครัวเรือน เดียวกัน สมาชิกในครอบครัวจึงมีโอกาสได้พบปะ พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกัน มีความรักใคร่ผูกพัน ใกล้ชิดสนิทสนมและไว้วางใจกันมากขึ้น นอกจากนี้การสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี รู้จักมีสติ รู้จักอดออม ออกกำลังกาย รักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักวางแผนในชีวิต รู้จักบทบาทหน้าที่ของสมาซิกแต่ละคนใน ครอบครัวทั้งด้านการเงินวัตถุสิ่งของ การให้คำแนะนำ การดูแลช่วยเหลือด้านกิจกรรมใน ชีวิตประจำวันและเมื่อเจ็บป่วยก็จะยิ่งส่งเสริมให้มีความรักใคร่ผูกพันกันมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการได้อาศัยอยู่ด้วยกันจึงทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่าคนที่ ไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน การเคารพเชื่อฟัง เป็นการแสดงออกผู้มีอายุน้อยกว่าจะแสดงออกต่อผู้มีอายุ มากกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการปลูกฝังในเรื่องการเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครอบครัว เกิด การได้อาศัยอยู่ด้วยกันย่อมเอื้อให้ปฏิสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นได้มากกว่าในมิติของการแลกเปลี่ยน ผ่าน องค์ประกอบและตัวชี้วัดการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทาง สังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ องค์ประกอบที่ 1 การเลี้ยง มีวิธีการคือ ใช้หลักเหตุผล ให้อิสระในการดำเนิน ชีวิต องค์ประกอบที่ 2 ความสัมพันธ์ในครอบครัว องค์ประกอบที่ 3 วิธีการบริหารจัดการครอบครัว วิธีการ องค์ประกอบที่ 4 เข้าใจบทบาทตนเองในครอบครัว องค์ประกอบที่ 5 การแสดงความรักใน ครอบครัว องค์ความรู้องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้าง สร้างสรรค์คุณคำทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ที่พบว่าเกิดจากการเลี้ยงดูด้วยหลักการ 9 ดี มี วิจารณญาณในการใช้สื่อ วิธีการอบรมเลี้ยงดูตามหลัก 9 ดี เป็นแบบอย่างที่ดี มีพรหมวิหาร 4 มีการ เสริมแรง เป็นกัลยาณมิตร รู้จักสร้างรงจูงใจที่ดี มีความยุติธรรม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น หรือความสามารถ ไม่กดดัน ให้รู้จักอยู่ในสังคม เข้าใจกติกา เงื่อนไขทางสังคม ผลที่ได้คือเป็นคนดีอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจในตนเองและครอบครัว 2) การพัฒนาหลักสูตรการสร้าง ครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ การพัฒนา หลักสูตรการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัด บุรีรัมย์ โดยการการจัดสัมมนากลุ่มย่อย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมพระสุนทร ธรรมเมธี,ดร. เวลา 8.30 – 17.00 น. โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 30 คน ผลการสัมมนากลุ่มย่อยได้หลักสูตร การสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการจัดกิจกรรมหลักสูตร 2 วัน ผ่านกิจกรรม 10 กิจกรรมประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตร การสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การร่วมหลักสูตรการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมพบว่า การร่วมหลักสูตรการสร้าง ครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.39) ด้านที่มีค่าสูงที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุดคือด้านการให้บริการของ เจ้าหน้าที่(ค่าเฉลี่ย 4.82) รองลงมาคือ ด้านสถานที่ / ระยะเวลา / อาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) ต่ำสุดคือต้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.93) 3) นำเสนอการ สร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี หลักสูตรการสร้างครอบครัวอบอุ่น ด้วยหลักการ 9 D เพื่อสร้างสร้างสรรค์คุณคำทางสังคมในจังหวัด บุรีรัมย์ผ่านกิจกรรม 10 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 ธรรมะสวัสดี กิจกรรมที่ 2 ฉันคือใครในครอบครัว กิจกรรมที่ 3 หลัก 9 ดีกับความสุขในชีวิต กิจกรรมที่ 4 ภาระหน้าที่ของฉันตามหลัก 9 ดี กิจกรรมที่ 5 ต้นแบบที่ดีที่ในครอบครัวโดยมาบุคคลต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต กิจกรรมที่ 6 วางแผนชีวิตวางแผนครอบครัว กิจกรรมที่ 7 จัดลำดับความสำคัญของชีวิต กิจกรรมที่ 8 ทำ อย่างไรให้ครอบครัวถึงสุข กิจกรรมที่ 9 รู้รัก รู้ออม รู้ใจ กิจกรรมที่ 10 เราจะพาครอบครัวเราอบอุ่น 3. เครือข่าย ชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1. แนวทางการสร้างเครือข่าย 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์มีแนวทางการเสริมสร้างเครือข่าย 9 ดี ทั้งในระดับจังหวัด ระดับตำบล และระดับชุมชนหรือ หมู่บ้าน ผู้ที่วางนโยบายเครือข่ายชุมชนคุณธรรม 9 ดี คืออดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายเสรี ศรี หะไตร) ซึ่งมีกระบวนการประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้าใจในทุกระดับ 2) จัดตั้งองค์กรและ คณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 3) จัดทำธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี 4) กำหนด ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 5) การขับเคลื่อนการทำแผนชีวิตหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี เพื่อให้ทุกหมู่บ้านนำธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี มาสู่การปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา การสร้างรูปแบบเครือข่าย 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ การ สร้างรูปแบบเครือข่ายชุมชน 9 ดี มี 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับตำบล และระดับชุมชน/หมู่บ้าน เป็นการขับเคลื่อนเครือข่ายด้วยพลังบวร ที่เป็นนโยบายการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีล 5 มีการ ส่งเสริมการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย เช่น งานศพปลอดเหล้า ปลอดการพนัน มีการ ส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพให้ทุกครัวเรือนปลูกผักสวนครัวริมรั้วเก็บทาน ได้เป็นผักปลอดจากสารเคมี และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข บริหารจัดการโดยใช้ระบบกลไก คณะกรรมการหมู่บ้าน ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยมีผู้นำทางศาสนาและผู้นำหมู่บ้านคอยให้คำปรึกษาและแนะนำ แนวทางในการปฏิบัติในแต่ละชั้นตอน มีกระบวนการสร้างเครือข่ายประกอบด้วย องค์กร บทบาท หน้าที่ กิจกรรม/กระบวนการ และผลลัพธ์ การวิเคราะห์การเชื่อมโยงเครือข่าย 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม การ เชื่อมโยงเครือข่ายธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์นั้น อาศัยเครือข่าย 3 ประเภท คือ 1) เครือข่ายเชิงพื้นที่ 2 เครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม และ 3) เครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่ ส่วน ปัจจัยความสำเร็จในการจัดทำธรรมนูญสันติสุขชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน มี 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัย ด้านผู้นำ 2) คณะกรรมการหมู่บ้าน 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชน 4) ความศรัทธาของ ประชาชนหรือชุมชน และ 5) การประเมินผลมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการทำงานของเครือข่ายธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี นั้น นอกจากผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว ยังเป็นการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีต่อ กัน ผลสัมฤทธิ์ของความเป็นเครือข่ายที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) เกิดกระบวนการเรียนรู้ 2) การเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหา 3) เกิดการพึ่งพา ตนเอง 4) การจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น 5) เกิดกระบวนการผลักดันเชิงนโยบาย 6) เกิดอำนาจ หรือพลังที่เป็นการต่อรองในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ 4. การปลูกฝังค่นิยม 9 ดี :การทบทวน การสร้างองค์ความรู้และแนวทางการวิจัย ด้านคำนิยม 9 ดีของสังคมไทยในอนาคต ทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับคำนิยม 9 ดี ในสังคมไทย พบว่าในการขับเคลื่อน คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม) /ชุมชนเมือง(กชช.) ให้เข้มแข็ง สามารถปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนด และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายหรือการร้องขอจากนายอำเภอ ส่วน ราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อหมู่บ้าน/ชุมชนเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ได้วางระบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้ กม/กชช. คือ การ ใช้ธรรมนูญหมู่บ้าน/ชุมชนเมืองสันติสุข 9 ดี คัมภีร์สร้างอนาคตที่ดีให้ลูกหลาน นำมาเป็นกรอบ กำหนดความรับผิดชอบ หน้าที่ กรอบการปฏิบัติร่วมกันของทุกคนในหมู่บ้าน/ชุมชน เนื่องจาก มีอัต ลักษณ์ร่วมกัน มีกิจกรรมร่วมกัน ผ่านกิจกรรมของครอบครัว ชุมชน โรงเรียน วัด คณะกรรมการ ชุมชน สมาชิกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ การขับเคลื่อน ธรรมนูญ 9 ดีด้วยพลังบวร โดยบ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องมีองค์ประกอบ คือ ผู้นำดี คนมีส่วนร่วม มีประเพณียึดเหนี่ยวร่วมกัน มีจิตสำนึกรักชุมชน แนวทางการเสริมสร้างค่านิยม 9 ดีในสังคมไทย มีกระบวนการคือ ครอบครัว มีการ สร้างความตระหนักในธรรมนูณ 9 ดี การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทุกครอบครัวเขียนผัง ครอบครัวของตัวเอง สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักหน้าที่ของตนเอง มี แบบอย่างที่ดี มีแรงบันดาลใจ มีความรักความผูกพันในครอบครัว ชุมชน วัด มีบทบาทในการส่งเสริม คุณธรรมและเป็นศูนย์รวมจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อพิธีกรรม มีการปฏิบัติธรรม ในทุกๆวันพระของ ทุกเดือน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการทำกิจกรรมในชุมชนและเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน และองค์กร ภาครัฐในชุมชน สถานศึกษามีส่วนสนับสนุนในการปลูกฝังค่านิยม 9 ดี สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ ชุมชน รวมทั้งต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชุมชนสามารถนำไปสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจเกิดรายได้แก่ชุมชน โดยกระตุ้นเผยแพรให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในรูป ของการจัดระบบทำแบบ มีระเบียบขั้นตอนโดยจากการลงพื้นที่รับฟังความต้องการของชุมชน ว่าทาง ชุมชนเองนั้นต้องการที่จะพัฒนาตัวชุมชนเองอย่างไร มีกลไกเข้ามาสนับสนุนอย่างไร ขั้นที่สองจัดทำ ประชาคมของชุมชนให้สอดคล้องกับความประสงค์ของชุมชน โดยให้ชุมชนตั้งต้นพัฒนาตัวเองก่อน แล้ว จึงขยายความคิดไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เป็นทีมงาน อาสาสมัคร (อสม.) เป็นแกนนำจัตกิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชน โดยเฉพาะกิจกรรมที่เชื่อมโยงบทบาท ระหว่างบ้าน สถาบันศาสนา โรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างเครือข่ายการดูแล คุ้มครอง การจัดสวัสดิการสังคมภายในชุมชน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท และดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังและหาแนวทางการวิจัยด้านค่านิยม 9 ดี ของสังคมไทยในอนาคตควรมี การรณรงค์ธรรมนูญ 9 ดี อย่างสม่ำเสมอ รณรงค์ให้มีการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน หรือกลุ่มออมทรัพย์ อื่นๆ ส่งเสริมให้มีการตั้งสหกรณ์หรือร้านค้าชุมชนประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่าย สินค้าในราคาที่เป็นธรรม และสร้างรายได้ให้กับสมาชิก หรือครอบครัวในหมู่บ้านและให้ คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ในการดำเนินการ ส่งเสริมให้มีอาชีพทางเลือก หรือ อาชีพเสริมเพื่อยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) อาชีพเชิงเศรษฐกิจการตลาด สนับสนุนให้มี การรวมกลุ่มอาชีพพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนและสร้าง เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมให้มีการทำเกษตรอินทรีย์วิถีชาวบ้าน เพื่อลดต้นทุนทางการผลิตของเกษตรกรภายในหมู่บ้าน และส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน เพื่อการใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงอย่าง คุ้มค่า ส่งเสริมและจัดให้มีศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน นอกจากนี้ความร่วมมือ ของชุมชน วัด โรงเรียน องค์กรภาครัฐในท้องถิ่นถือเป็นหัวใจสำคัญในการการปลูกฝังและเป็นแนว ทางการวิจัยด้านค่านิยม 9 ดี ของสังคมไทยในอนาคตเป็นอย่างดี |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1102 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0007ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์.pdf | 10.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.