Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1101
Title: การขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
Other Titles: The driving of Buddhist innovations to the livable city community to improve the quality of life.
Authors: (ศักดา โอภาโส), พระครูโอภาสนนทกิตติ์
Keywords: พุทธนวัตกรรม
ชุมชนเมือง
พัฒนาคุณภาพชีวิต
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสื่อสารในการเผาศพ 2) เพื่อขับเคลื่อนระบบ การจัดการเผาศพ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และการสร้างเครือข่ายการเผาศพ ใช้ระเบียบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัย กระบวนการดำเนินงานวิจัยเชิง ปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาชุดการสื่อสารในการเผาศพ การสื่อสารควรเป็นไปแบบสองทางคือ สามารถ ตอบโต้หรือชักถามได้ตลอดเวลาเกี่ยวกับระบบหรือขั้นตอนการใช้งานเตาเผาศพ ซึ่งช่วงแรกในการใช้ งานอาจต้องคอยตอบข้อชักถามหรือแก้ปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งหากได้ทดลองปฏิบัติจริงแล้วก็จะทำให้ มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น ทีมงานที่จัดทำโครงการ ควรมีการติดตามคอยช่วยเหลือ อำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานฌาปนกิจด้วยการพัฒนาชุดการสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจและ ต้องการสื่อถึงองค์ประกอบในการเผาศพ มีลักษณะดังนี้ คือ การพัฒนาชุดการสื่อสารสำหรับ ประชาชนทั่วไป ควรมีลักษณะที่เข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบ ที่ชัดเจน มีสีสันที่น่าอ่าน อาจจะเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ ทางเว็บไซต์ออนไลน์ แอปพลิเคชัน หรืออยู่ในรูปแบบคลิปวิดีโอที่มีขั้นตอนในการปฏิบัติที่ ชัดเจน อธิบายถึงภัยเงียบจากสารพิษส่งผลต่อสุขภาพชุมชน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน 2. การที่จะขับเคลื่อนระบบการจัดการเผาศพอย่างมีประสิทธิภาพควรมีการจัดการใน ลักษณะดังต่อไปนี้ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้แก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการฌาปนกิจ ศพเกี่ยวกับการใช้เตาผาศพเพื่อลดมลพิษที่เกิดขึ้น ขอความร่วมมือและประสานงานไปยังทุกภาค ส่วน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาศพที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย ชีวิตและสิ่งแวดล้อม นำเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการขับเคลื่อน โครงการเพื่อที่จะเก็บข้อมูลและประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารของแต่ละฝ่ายงาน มีการติดตามผล การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีการวัดและประเมินผลเพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา ให้ดีขึ้น 3. ปัญหาการสร้างเครือข่ายการเผาศพไร้มลพิษ ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างและ รูปแบบการทำงานเครือข่ายการเผาศพไร้มลพิษ 2) ด้านความเชื่อวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น 3) ด้านสังคม โครงสร้างเชิงพื้นที่ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) งบประมาณการพัฒนารูปแบบการเผาศพ และ 6) หน่วยงานภาครัฐ การขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นนวัตกรรม เกี่ยวกับการเผาศพ หรือในในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาหลายๆ อย่างของวัด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การเผาศพในเขตกรุงเทพมหานคร และในชุมชนต่างจังหวัด ล้วนก็มีการเผาศพตามความเชื่อ หรือ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และการเผาศพแต่ละครั้งนั้น ใช้ทรัพยากรธรรม สิ่งประดับชนิด ต่างๆ รวมทั้งการจัดดอกไม้สด พวงหรีด น้ำมันชื้อเพลง หรืออาจจะถ่าน และฟืน สิ่งประกอบเหล่านี้ ล้วนเป็นสารตั้งต้นการเกิดมลพิษ มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น มักเกิดขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ ที่ไม่ สมบูรณ์ หรืออุณหภูมิไม่สูงพอ ทำให้เกิดมลพิษ เชน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอน มอนอกไซด์ ก๊าซ ซัลเฟอรไดออกไชด์รวมทั้งเขม่า และขี้เถ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง และกลิ่นจากการสลายตัวของสาร อินทรีย์ในศพ ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนด้วย จะ เข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากติดไปตามเสื้อผ้า อาหาร ภาชนะเครื่องใช้ที่อยู่ในวัด รวมถึงที่ถูกลม พัดฟุ้งกระจายไปตกในพื้นที่ห่างไกลออกไป จึงกลายเป็นเรื่องยากที่ประชาชนที่จะไปร่วมงาน ไม่ สามารถหลีกเสี่ยงจากสารพิษดังกล่าวได้ เนื่องจากอาจจะมีที่อยู่อาศัยใกล้กับบริเวณวัดหรือไป ร่วมงานศพ เรียกว่าเป็นวิถีชีวิตของคนไทย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1101
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0006พระครูโอภาสนนทกิตติ์.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.