Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภูริปญฺโญ, พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์-
dc.date.accessioned2023-07-09T14:12:32Z-
dc.date.available2023-07-09T14:12:32Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1099-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "รูปแบบการพัฒนาเตาเผาศพอัจฉริยะเชิงพุทธวิถีสำหรับชุมชนเมือง" 1) เพื่อศึกษามลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาศพของวัด 2) เพื่อพัฒนาและทดลองใช้สารวิมุตติในการฌาปนกิจ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการควบคุมมลพิษโดยใช้สารวิมุตติ ดำเนินการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษา ข้อมูลจาก (Documentary Research) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ควบคู่กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) มุ่งเน้นการศึกษาแหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากชุมชน วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์พระสงฆ์และผู้นำศาสนา 9 รูป/คน นักวิชาการ 10 คน ผู้นำชุมชน นักบริหารจัดการเมรุ 5 คน และการสนทนากลุ่ม 13 รูป/คน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์ 23 คน และได้กลุ่ม ตัวอย่างจากการทดลองเผาศพจำนวน 2 ศพ เพศชาย ผลการวิจัยพบว่า มลพิษที่เกิดจากการเผาศพ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดฝุ่นละออง ก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ รวมทั้งเขม่าและขี้เถ้า นอกจากนี้ ยังพบสารจำพวกไดออก ซิน ฟิวแรนส์ได้ โดยสารทั้งสองชนิดนี้ จะลอยตัวจากปล่องควันเวลาเผาศพ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สุขภาพของประชาชน การพัฒนาเตาเผาศพอัจฉริยะและทดลองใช้สารวิมุตตีในเผาศพ มีแนวคิดในการออกแบบ และ ดำเนิน การอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การทำงานของเครื่องพ่นสารวิมุตติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (nput) ประกอบด้วยร่างกายผู้เสียชีวิตของใช้ส่วนตัวผู้เสียชีวิต และองค์ประกอบของฌาปน สถาน 2) วิธีการดำเนินการจัดการร่างกายผู้เสียชีวิต โดยการเผาศพแบบ 2 ห้องเผา พร้อมการพ่นสารไก อาเพื่อกำจัดสารพิษ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ ซึ่งในอยู่ในรูปของอัฐิ อังคาร และควันจากการเผา โดยการออกแบบ 2 ระยะ คือ ออกแบบเครื่องพ่นสารวิมุตติ และเตาเผาศพต้นแบบทำการพ่นผงสารวิมุตติเข้าสู่เตาเผา โดยมี จำนวนหัวพ่น ขนาดท่อ อัตราการไหลของลม และความเร็วในการใช้ในเครื่องพ่นที่พัฒนาขึ้นใช้ท่อขนาด 15.8 มม. (คิดเป็นพื้นที่ 195.9674 ตาราง มม.) มีจำนวนหัวพ่น 6 หัว อากาศมีความหนาแน่น 1,200 กรัม/ลูกบาศก์เมตร มีความเร็วลมต่ำสุด 7,620 มม./วินาที อัตราการไหลของลม 1,493,271.588 ลูกบาศก์ มม./วินาที หรือ 5.375 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ใช้ปั๊มลมแบบ Root blower โดยมีแรงดัน 2 bar อัตรา การส่งลม 54 ลม.ม/ชั่วโมง มีค่า แรงดันสูญเสีย 144.4752 มีอัตราส่วนความหยาบต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง ท่อ 0.00633 และมีค่า friction factor (Moody's chart) (f) 0.035 พบว่าเมื่อใช้ในการเผาศพแล้ว ตรวจวัดปริมาณสารไดออกชิน/ฟิวแรนซ์ อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน วัดค่าได้ น้อยกว่า 0.005 ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน เมื่อเทียบได้กับค่ามาตรฐานการระบายอากาศ จากปล่องเตาเผาโรคติดเชื้อ 0.5 ng I-TEO/Nm3 โดยมีค่าที่ได้จากการเก็บตัวอย่างที่ 1 น้อยกว่า .005 ng I-TEO/Nm3 และตัวอย่างที่ 2 0.00474 ng I-TEQ/Nm3en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเตาเผาศพen_US
dc.subjectเตาเผาศพอัจฉริยะen_US
dc.subjectวิถีสำหรับชุมชนเมืองen_US
dc.titleรูปแบบการพัฒนาเตาเผาศพอัจฉริยะเชิงพุทธวิถีสำหรับชุมชนเมืองen_US
dc.title.alternativeThe Development Model of Buddhist Genius Crematorium for the Urban Communityen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0004พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.