Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1098
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author(สฤษฏิ์ สิริธโร), พระเทพปริยัติเมธี-
dc.contributor.authorอบสิน, สุกัญญาณัฏฐ-
dc.contributor.authorนาสุริวงศ์, ไพศาล-
dc.date.accessioned2023-07-09T12:34:01Z-
dc.date.available2023-07-09T12:34:01Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1098-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง "การศึกษาเตาเผาศพอัจฉริยะต้นแบบในสังคมไทย" มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อ ศึกษาเตาผาศพของวัดในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบเตาเผาศพของวัดในสังคมไทย 3) เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคการเผาศพของวัดในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักวิชาการ 10 คน พระสงฆ์ 10 รูป ตัวแทนชุมชน 10 คน นักบริหารจัดการฌาปนสถาน 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 รูป/คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์และ การสนทนากลุ่ม (Content analysis) ตามประเด็นที่ได้ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาเตาเผาศพของวัดในสังคมไทย จะให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาด้วยความเชื่อว่า การเผาศพจะต้องจัดสมกับฐานะ ถ้าคนมี ตำแหน่ง ผู้นำชุมชน หรือเกจิ บุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือ ส่วนมากจะเมรุสอย แสดงถึงบุญบารมี ของคนที่เสียชีวิต ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผาศพรูปแบบที่ 1 เป็นเตาเผาศพที่ใช้ฟืน ถ่านและยาง รถยนต์เป็นเชื้อเพลิง ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ เกิดเขม่าควัน กลิ่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไดออชิน/ ฟิวแรนส์ เนื่องจากเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ 2. รูปแบบเตาเผาศพของวัดในสังคมไทย ควรเป็นเตาเผาศพลักษณะที่ 3 ประกอบด้วย 1. เตาเผาแบบโบราณ ใช้ฟิน หรือยางรถยนต์เป็นเชื้อเพลิง มีทุกภาคในประเทศไทย 2.เตาเผาศพแบบ 1 ห้อง ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง มีทุกภาคในประเทศไทย 3.เตาศพแบบ 2 ห้องเผา ห้องที่ 1 เผาศพ ส่วนห้องที่ 2 เผาควัน เตาเผาศพลักษณะที่ 3 ถือว่าเป็นเตาที่ทันสมัยและสามารถควบคุมมลพิษ ใช้น้ำมันดีเซล หรือก๊าส LPG เป็นเชื้อเพลง และการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ควบคุมความร้อนได้ มีห้องเผาศพ ห้องเผาควัน สามารถลดเกิดเขม่าควัน กลิ่น ฝุ่นละออง ขนาดเล็กลงได้ และเตาเผาในอนาคต มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. ปัญหาและอุปสรรคการเผาศพของวัดในสังคมไทย วัดไม่สามารถควบคุมรูปแบบการ เผาศพ หรือเตาเผาศพแบบเดียวกันได้ เนื่องความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกัน ซึ่งชุมชน ต่างจังหวัดยังคงใช้ รูปแบบการเผาศพแบบเชิงตะกอน และเมรุลอย จึงเกิดปัญหาเขม่าควัน กลิ่น ฝุ่น ละอองขนาดเล็ก สารไดออชิน/ฟิวแรนส์ เกิดผลพิษทางอากาศและสุขภาพของประชาชนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเตาเผาศพอัจฉริยะen_US
dc.subjectเตาเผาศพen_US
dc.subjectต้นแบบen_US
dc.titleการศึกษาเตาเผาศพอัจฉริยะต้นแบบในสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeStudy the model intelligent Ashes kiln in Thai societyen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0002พระเทพปริยัติเมธี.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.