Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1097
Title: การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Foundation Economic Development of Prasat Khmer Community in Surin Province
Authors: พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ
ชยวุทฺโฒ, พระปรัชญา
สะอาดเอี่ยม, ธนรัฐ
กิตุติวณโณ, พระอธิการเวียง
พวงจันทร์, ธีรทิพย์
Keywords: การพัฒนาเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจฐานราก
ชุมชนปราสาทขอม
จังหวัดสุรินทร์
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ " มี วัตถุประสงค์ 4 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาท ขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาท ขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ และ 4) เพื่อศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) และการออกแบบการวิจัยแบบพัฒนา (Research and Development) โดยศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และจาก การสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 1988 รูป/คนและ ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า จากหลักฐานโบราณคดีที่ขุดพบในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ยังพบแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของชุมชน โบราณยุคโลหะตอนปลายเป็นจำนวนมากแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการปกครอง และปราสาทหินที่เก่าแก่ที่สุดและมากที่สุดในประเทศ ไทย ที่สร้างมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "อาณาจักรเจนละ ปราสาทขอมใน จังหวัดสุรินทร์พบว่ามีจำนวน 39 แห่ง ใน 15 อำเภอ ที่ปรากฏว่ามีปราสาทขอมตั้งอยู่ ได้แก่ อำเภอ เมืองสุรินทร์ อำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท อำเภอบัวเชด อำเภอศีขรภูมิ อำเภอจอมพระ อำเภอท่า ตูม อำเภอสังขะ อำเภอพนมดงรัก อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอรัตนบุรี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอ ลำดวน อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอสนม ซึ่งในแต่ละแห่งมีสภาพของตัวอาคารและพื้นที่ๆ แตกต่าง กัน บางแห่งสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนของกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัด สุรินทร์ จากการศึกษาพบว่าปราสาทขอมมีจำนวน 12 แห่งเท่านั้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ปราสาทขอม โดยนิยมจัดใน รูปแบบของการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการแสดงแสง สี เสียง เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาและ ตำนานที่เกี่ยวกับปราสาทขอมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดจัดขึ้นตามกรอบระยะเวลา เมื่อ นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจึงต้องมาในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่านั้น เพราะกิจกรรมที่สามารถทำได้ในพื้นที่ชุมชนปราสาทขอมมีกิจกรรมที่จำกัด ซึ่งสามารถทำได้ เพียงการถ่ายภาพคู่กับปราสาท การศึกษาประวัติของปราสาทแห่งนั้นๆ และมีบางแห่งที่สามารถเลือก ชื้อสินค้าที่มาขายในบริเวณปราสาทได้ ซึ่งปราสาทขอมทั้ง 12 นั้นได้แก่ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่าง ปี ปราสาทบ้านอนันต์ ปราสาทภูมิโปน ปราสาทบ้านจารย์ ปราสาทหมื่นชัย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ปราสาทเบง ปราสาทยายเหงา ปราสาทตามอญ ปราสาทตระเปียงเตีย เป็นตัน ที่ สามารถต่อยอดกิจกรรมในพื้นที่และสร้างเศรษฐกิจในชุมชนต่อไป และในประเด็นการจัดการ ท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อจำกัดในหลายๆด้านทั้งพื้นที่ และความ สมบูรณ์ของตัวปราสาทขอมเอง ส่งผลให้ความนำสนใจของตัวปราสาทขอมมีน้อยลง การจัดการ ท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ยังคงเป็นหน่วยงานหลัก คือ สำนักศิลปากรที่ 10 (นครราชสีมา) กรมศิลปากร เป็นเจ้าของพื้นที่ในการบริหารจัดการและจัดหาสิ่งอำนวยความสะวกให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ด้วย จำนวนของปราสาทขอมทั้งที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และยังไม่ขึ้นทะเบียนมีประมาณ 39 แห่งนั้น 2) การพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัด สุรินทร์ พบว่า 1 ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า : จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีทุน ทางสังคมทั้งมี 5 รูปแบบ คือ (1) จิตวิญญาณ แบ่งออก 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1.1) กลุ่มความเชื่อหรือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นฐาน คือ เป็นกลุ่มที่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง (1.2) กลุ่มความเชื่อท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน (3 ทุนทางปัญญา : ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง หรือเรียกว่า คชศาสตร์, ความรู้เกี่ยวกับการสร้างปราสาทขอม, ความรู้ด้านการทำการเกษตร, ความรู้ ด้านการวางผังเมือง, ความรู้ด้นการทำเครื่องปั้นดินเผา เช่นที่ชุมชนบ้านปราสาทช่างปี่ เป็นต้น ภูมิ ปัญญาการทอผ้าไหมมัดหมี่ เป็นต้น (3) ทรัพยากรมนุษย์: บรรพบุรุษกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตนเอง จังหวัดสุรินทร์มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ ของเผ่าสุรินทร์ ที่มี เอกลักษณ์ เซ่น ลาว กูย เซมร ที่มีวัฒนธรรมการกิน การแต่งกาย วิถีชีวิต ภาษาที่ต่างกัน (4) ทุนทาง ทรัพยากรธรรมซาติ : มีที่ราบสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี และมีแหล่งน้ำที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ห้วยเสนง, ห้วยลำพอก, ห้วยทับทันเป็นต้น รวมทั้งเป็นจังหวัดที่ ตั้งอยู่ติดชายแดนกัมพูชา โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก เป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยกับชาว กัมพูชา ภูเขาสวาย (5) ทุนโภคทรัพย์ คือ ปราสาทขอม ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้ ร่วมกันสร้างซึ่ง มีปราสาทขอมในเขตอีสานใต้ของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งแห่งมรดกทางวัฒนธรรม แห่งอารยธรรมขอมปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์เหล่านี้ ในส่วนของทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัด สุรินทร์ พบว่า สุรินทร์เป็นจังหวัดเก่าแก่ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต คช ศาสตร์ชาวกูย, เจรียง, กันตรึม ประเกือมสุรินทร์, ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษากูย-กวย กะโน้บติง รำตร๊ต และมะม๊วต 2) การพัฒนาสินค้าของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การสร้างสินค้าจาก ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนปราสาทขอมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัด สุรินทร์ มีทั้งที่ยังคงรักษาอยู่ แต่กระจัดกระจายและถูกทำให้ลดจำนวนลงอย่างมาก ยังไม่เป็นจุดสนใจ ของนักท่องเที่ยว รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ยังไม่มีความหลากหลาย ทั้งมีราคาถูกและด้อยคุณภาพ สาเหตุเนื่องจากตลาดชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ยังไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนเท่าที่ควร และนักท่องเที่ยวยังมีไม่มากพอหากเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้น ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ปราสาทขอมนั่น คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปราสาทขอมซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ใน ชุมชนเป็นฐานคติทางความคิด โดยผู้วิจัยได้แบ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุน วัฒนธรรมปราสาทาขอม โดยแบ่งสินค้าใน 3 รูปแบบ คือ (3) ตราสัญลักษณ์สินค้า: ตราสัญลักษณ์ สินค้าหรือโลโก้ (Logo) ของแต่ละชุมชมปราสาท โดยมีสวดลายจากปราสาทขอมนำมาออกแบบเป็น ตราสัญลักษณ์ (2) กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้าไหม: จังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งผลิตผ้าไหมจำนวนมาก มี ลวดลายที่หลากหลาย แต่กล่องบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยังไม่เป็นจุดสนใจแก่นักท่องเที่ยว ดังนั้น การออกแบบกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้าไหมประจำชุมชนปราสาทขอม 4 ชุมชน โดยใช้ฐานคติทุนทาง วัฒนธรรม คือ องค์ปราสาทขอม เป็นต้นแบบการออกแบบ และ (3) แก้วน้ำลายปราสาทขอม: สินค้า หนึ่งที่ยังไม่มีการวางขายตามร้านตลาดในชุมชนปราสาทขอม และร้านขายของที่ระลึกในจังหวัด สุรินทร์ นั่นคือ แก้วน้ำใส่แต่มีสวดลายปราสาทขอม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นทุนที่ ทรงคุณคำ คู่ควรแก่การอนุรักษ์ (3.1) แก้วน้ำลายเส้นปราสาทขอมศีขรภูมิ: ใช้รูปนางอัปสราถือ ดอกบัวพร้อมนกแก้วที่มีปรากฏในองค์ปราสาทมาเป็นลวดลายประดับแก้วน้ำ และลายเส้นตรา สัญลักษณ์ พร้อมกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ (3.2) แก้วน้ำลายเส้นปราสาทช่างปี่: ใช้ลายเส้นปราสาทช่างปี่ และตราลายเส้นสีทองเข้มเป็นตราสัญลักษณ์ พร้อมกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ (3.3) แก้วน้ำลายเส้น ปราสาทภูมิโปน: ใช้ลายเส้นของดอกผักกูดที่เป็นลายซอมโบราณที่ปรากฎในหน้าบันทางเข้าองค์ ปราสาทภูมิโปนและซุ้มประตู พร้อมด้วยตราลายเส้นสีทองเป็นตราสัญลักษณ์ และกล่องบรรจุ ผลิตภัณฑ์ และ (3.4) แก้วน้ำลายเส้นปราสาทตาเมือน: ใช้ลายเส้นของปราสาทตาเมือนธมเป็น สัญลักษณ์ และตราลายส้นสีทองเข้มเป็นตราสัญลักษณ์ พร้อมกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนา รูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การพัฒนารูปแบบ การบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์นั่น ในแต่ละชุมชนปราสาทขอมทั้ง 4 แห่งแบ่งรูปแบบการท่องเที่ยวออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 3.1) รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ปราสาทขอม: (1) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใน 4 ชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) ชุมชนปราสาทศีขรภูมิ: มีรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ช็อปปิ้งตลาด ชุมชน แวะซื้อกาละแม :ของฝากขึ้นชื่อจากอำเภอศีขรภูมิ และของอร่อยแห่งจังหวัดสุรินทร์ แวะชิม ผักกาดหวาน...ตำนานการเกษตรสู่คำขวัญจังหวัดสุรินทร์ : เที่ยวตลาดนัตรักษ์ศีขรภูมิ : เลือกซื้อ สินค้าและผลิตภัณฑ์จากแหล่งชุมชน และเข้าที่พักโฮมสเตย์อันอบอุ่น ณ ชุมชนปราสาทศีขรภูมิ 2) ชุมชนปราสาทช่างปี่: มีรูปแบบกิจกรรม ดังนี้ สืบสานตำนานงานปั้นหม้อ ชมเตาโบราณบ้านช่างปี่ อัน ซอมสะเลิกโดงจองใจ หลุมนี้มีรักพักใจ ประดิษฐ์เตยหอม ผูกรักปันใจ ฐานแปรรูปข้าวอินทรีย์ เข้าที่ พักโฮมสเตย์อันอบอุ่น 2) ชุมชนปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย ปั่นใจให้ภูมิโปน นายลอออังกอกระ โอบ หัตถกรรมสวยด้วยมือคุณ น้ำพริกถ้วยใหม่สดในกว่าเดิม รูปแบบการท่องเที่ยวที่ ฟ้าร้องน้อง สะอื้น จักสานสำราญใจ สวนจินจู กิจกรรมสบู่ลูกตาลเนียงด๊อฮทม และเข้าที่พักโฮมสเตย์อันอบอุ่น 4) ชุมชนปราสาทตาเมือน: ประกอบด้วยการท่องเที่ยวตลาดนัด 2 ประเทศ-ไทย/กัมพูชา รูปแบบ กิจกรรมขับรถแรลลี่ชมวิถีชุมชนกลุ่มปราสาทตาเมือน รูปแบบโครงการยุวมัคคุเทศก์ และรูปแบบ กิจกรรมเข้าที่พักโฮมสเตย์ (2) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ใน 4 ชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) ปราสาทศีขรภูมิ ประกอบด้วย กิจกรรมไหว้ปราสาทตำนานพันปี กิจกรรมสืบสานประเพณีไทยร่วมใจตักบาตรหน้าปราสาทศีขรภูมิ 2) ปราสาทช่างปี่ ประกอบด้วย กิจกรรมต้องมนต์ศิลา เยี่ยมชมวัตถุโบราณตำนานขลัง กิจกรรมหนุ่มสาวร่วมรักปักสะนา และรีรี่ ข้าวสารตำนานเจียงแปีย: 3) ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยสืบสานตำนานพันปี ประเพณี"ปะอ๊อกเปรี้ ยะแค ลำเจียก มัดใจ ชมแสง สี เสียง ตำนานเนียงเด๊าะทม 4) ปราสาทตาเมือน ประกอบด้วย กิจกรรมเยี่ยมชมปราสาทตาเมือน ไหว้พระศิวะ และ ร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปราสาทตาเมือน ในช่วง เทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของซาวไทยและชาวกัมพูชา 3) การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ในจังหวัด สุรินทร์มีเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาศาสนาและวัฒนธรรมคือที่สำหรับใช้สัญจรเที่ยวไปมาของ มนุษย์ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในระยะเวลาสั้น ๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยเส้นทาง การท่องเที่ยวปราสาทขอมในงานวิจัยนี้มี 4 แห่ง คือปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี่ ปราสาทภูมิโปน และปราสาทตาเมือน ในการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมชมหรือไปศึกษาปราสาทศีขรภูมินั้นสามารถเดินทาง ได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถไฟและรถโดยสารสาธารณะ เส้นทางการเดินทางมีดังนี้ เส้นทางหลัก รถยนต์ ส่วนตัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 การเดินทางมาเพื่อท่องเที่ยวที่ปราสาทช่างปี่ มีเส้นทางการ เดินทางดังนี้ เส้นทางหลัก การเดินทางมาปราสาทช่างปี่ ให้ใช้เส้นทางหมายเลข 226 สายสุรินทร์ - ศรีสะเกษ เมื่อเข้าเขตอำเภอศีขรภูมิประมาณกิโลเมตรที่ 19 แล้วเสี้ยวข้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปปราสาทภูมิโปนนั้นสามารถเดินทางจากตัวจังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก หรือจะใช้เส้นทางรองโดยเมื่อเดินทางมาจากประโคนชัยใช้เส้นทางประโคนชัยเดชอุดมก็ได้ การ เดินทางไปชมกลุ่มปราสาทตาเมือน สะดวกที่สุดคือการเดินทางไปด้วยรถยนต์ส่วนตัว ส่วนรถยนต์ สาธารณะนั้นไม่ค่อยมีให้บริการการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์มีความ เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวปราสาทขอมหรือการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี การพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวเส้นทาง ชุมชนปราสาทขอมจังหวัดสุรินทร์ นอกจากจะมีประโยชน์ในการเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ แล้วยังได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวด้านอื่นที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ด้วย 4) กลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า กลไกที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญนโยบาย ของรัฐบาลที่สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวสถานที่โบรารณสถานและการท่องเที่ยว ชุมชน กรมศิลปากรณ์โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุรินทร์ เป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุและข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นหน่วยงานที่คอย ดูแลรักษาบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็น หน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวเช่นกิจกรรมบวงสรวงปราสาทขอมการเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนปราสาท ขอมในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยชุมชนปราสาทขอม 4 แห่งคือ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี่ ปราสาท ภูมิโปนและปราสาทตาเมือน ซึ่งได้มีการแบ่งประเด็นในการศึกษาประด้วยประเด็นด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคคล 2) ด้านการประสานงานระหว่างเครือข่าย 3) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ประสบการณ์ระหว่างเครือข่าย 4) ด้านกระบวนการทำงาน 5) ด้านผู้นำวิสัยทัศน์ นโยบายและ ยุทธศาสตร์การประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวปราสาทขอมสรุปตามเครือชายที่มี อยู่เดิมจากการศึกษาสภาพของเครือข่ายการท่องเที่ยวปราสาทขอมจังหวัดสุรินทร์ ด้านการรวมตัวกัน และความเป็นอิสระของเครือข่าย การขยายผลการท่องเที่ยวไปยังชุมชนอื่น การเรียนรู้แล้ว ประสบการณ์ร่วมกัน 5) องค์ความรู้ที่ค้นพบ พบว่า รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากปราสาทขอมใน จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ รูปแบบการพัฒนา "ขอมสุรินทร์-โมเดล (Khmer Surin-Model)"อัน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้ (1) K- Knowiedge คือ การมีองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่นพัฒนาสู่สากล (2) H -Honesty คือ ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาค ส่วน (3) M- Morality คือ ยึดหลักสัมมาชีพในการดำเนินธุรกิจ (4) E- E-commerce คือ สร้าง รูปแบบและช่องทางการค้าขายในโลกอินเตอร์เน็ต (5) R- Resource คือ ทรัพยากร สิ่งที่เป็นต้นทุน ทางสังคมและวัฒนธรรม (6) S- Speech คือ สัมมาวาจา การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ (7) U- Unity คือ ความเป็นหนึ่งเดียว ความสามัคคีของคนในชุมชน และ (8) R- Responsibility คือ ความ รับผิดชอบต่อตนเองสังคมและส่วนรวม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1097
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0003พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ.pdf11.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.