Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1096
Title: พุทธนวัตกรรมและการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็ง
Other Titles: Buddhist innovation and improving the quality of life with intelligent cremation furnace to reduce the amount of carcinogens.
Authors: ภูริปญฺโญ, พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์
พระเทพปริยัติเมธี
พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
พระครูโอภาสนนทกิตติ์
Keywords: พุทธนวัตกรรม
สารก่อมะเร็ง
เตาเผาศพ
เตาเผาศพอัจฉริยะ
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: แผนการวิจัยเรื่อง "พุทธนวัตกรรมและการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อ ลดปริมาณสารก่อมะเร็ง" 1) การศึกษาเตาเผาศพอัจฉริยะต้นแบบในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบการ พัฒนาเตาเผาศพอัจฉริยะเชิงพุทธวิถีสำหรับชุมชนเมือง 3) เพื่อพัฒนาและยกระดับพุทธจริยะวิถีวัตและชุมชน เมืองต้นแบบการฌาปนกิจศพ 4) เพื่อขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ดำเนินการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลจาก (Documentary Research) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ควบคู่กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) มุ่งเน้นการศึกษา เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากชุมชน วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์พระสงฆ์และผู้นำศาสนา 9 รูป/คน นักวิชาการ 10 คน ผู้นำชุมชน นักบริหาร จัดการเมรุ 5 คน และการสนทนากลุ่ม 13 รูป/คน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์ 23 คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จากการทดลองเผาศพจำนวน 2 ศพ เพศชาย ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาเตาเผาศพของวัตในสังคมไทย จะให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาด้วยความเชื่อว่า การเผาศพจะต้องจัดสมกับฐานะ ถ้าคนมีตำแหน่งผู้นำชุมชน หรือเกจิ บุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือ ส่วนมากจะเมรุลอย แสดงถึงบุญบารมีของคนที่เสียชีวิต ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผาศพรูปแบบที่ 1 เป็นเตาเผาศพที่ใช้ฟืน ถ่านและยางรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงไม่ สามารถควบคุมความร้อนได้ เกิดเขม่าควัน กลิ่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไดออซิน/ฟิวแรนส์ เนื่องจากเกิดการ เผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ 2. การศึกษารูปแบบการพัฒนาเตาเผาศพอัจฉริยะเชิงพุทธวิถีสำหรับชุมชนเมือง มีแนวคิดในการ ออกแบบ และดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การทำงานของเครื่องพ่นสารวิมุตติ (fielder) เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วยร่างกายผู้เสียชีวิตของใช้ส่วนตัวผู้เสียชีวิต และ องค์ประกอบของฌาปนสถาน 2) วิธีการดำเนินการจัดการร่างกายผู้เสียชีวิต โดยการเผาศพแบบ 2 ห้องเผา พร้อมการพ่นสารไกอา (Gaia substance) เพื่อกำจัดสารพิษ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ ซึ่งในอยู่ในรูป ของอัฐิอังคาร และควันจากการเผา โดยการฮอกแบบ 2 ระยะ คือ ออกแบบเครื่องพ่นสารวิมุตติ และเตาเผา ศพต้นแบบ ทำการพ่นผงสารวิมุตติเข้าสู่เตาเผา โดยมีจำนวนหัวพ่นขนาดท่อ อัตราการไหลของลม และ ความเร็วในการใช้ในเครื่องพ่นที่พัฒนาขึ้น ใช้ท่อขนาด 15.8 มม. (คิดเป็นพื้นที่ 195.9674 ตาราง มม.) มี จำนวนหัวพ่น 6 หัว อากาศมีความหนาแน่น 1,200 กรัม/ลูกบาศก์เมตร มีความเร็วลมต่ำสุด 7,620มม./ วินาที อัตราการไหลของลม 1,493,271.588 ลูกบาศก์ มม./วินาที หรือ 5.375 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ใช้ปั๊ม ลมแบบ Root blower โดยมีแรงตัน 2 bar อัตราการส่งลม 54 ลม.ม/ชั่วโมง มีค่า แรงตันสูญเสีย 144.4752 มีอัตราส่วนความหยาบต่อเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 0.00633 และมีค่า friction factor (Moody's chart) (1) 0.035 พบว่าเมื่อใช้ในการเผาศพแล้ว ตรวจวัดปริมาณสารไดออกชิน/ฟิวแรนซ์ อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานวัดค่า ได้ น้อยกว่า 0.005 ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเมื่อเทียบได้กับค่ามาตรฐานการระบายอากาศจากปล่อง เตาเผาโรคติดเชื้อ 0.5 ng I-TEQ/Nm3 โดยมีค่าที่ได้จากการเก็บตัวอย่างที่ 1 น้อยกว่า .005ng I-TEQ/Nm3 และตัวอย่างที่ 2 0.00474ng I-TEQ/Nm3 3.การพัฒนาและยกระดับพุทธจริยะวิถีวัดและชุมชนเมืองต้นแบบการฌาปนกิจศพด้วยการใช้ กระบวนการ PAOR ในการดำเนินโครงการแต่ละขั้นตอนคือมีการวางแผนปฏิบัติการตามแผนงานผลจาก การสะท้อนคือการเก็บข้อมูลจากบุคคลสำคัญและแก้ปัญหาอุปสรรคในการทำงานจนได้นวัตกรรมเกิดขึ้นคือ เตาเผาศพอัจฉริยะโดยมีใช้สารวิมุตเป็นตัวยับยั้งไม่ให้เกิดมลภาวะทางอากาศและจากการที่ได้เตาเผาศพ อัจฉริยะแล้วได้มีการวางแผนพัฒนาต่อเนื่องเพื่อจะทดลองใช้เตาเผาศพอัจฉริยะและจดข้อมูลบันทึกผลจน ได้มาซึ่งคู่มือปฏิบัติงานของผู้ใช้งานเตาเผาศพอัจฉริยะคือสัปเหร่อมีการอบรมให้ความรู้แนะนำทั้งวิธีการ ปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์เตาเผาศพอัจฉริยะและวิธีการปฏิบัติงานเพื่อจรรโลงถึงวัฒนธรรมชาวพุทธและ คำนึงถึงพุทธจริยะวิถีในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชุมชนนั้นปราศจากมลภาวะเป็นชุมชนที่มีความร่วมมือ และน่าอยู่อาศัย 4. การขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตควรมีการจัดการใน ลักษณะจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้แก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการฌาปนกิจศพเกี่ยวกับการใช้ เตาเผาศพเพื่อลดมลพิษที่เกิดขึ้น ขอความร่วมมือและประสานงานไปยังทุกภาคส่วน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึง ปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาศพที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ชีวิตและสิ่งแวดล้อม นำ เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อที่จะเก็บข้อมูลและ ประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารของแต่ละฝ่ายงาน มีการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องรวมทั้ง มีการวัดและประเมินผลเพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1096
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0001พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.