Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสำแดงเดช, พระครูอุดมเจติยารักษ์-
dc.contributor.authorพละกุล, อนุชา-
dc.contributor.authorสุดแสนสง่า, ศิริเพ็ญ-
dc.contributor.authorโฆษิตเลิศ, ณัฏฐ์พัชร์-
dc.contributor.authorทิพพ์ประจง, มะลิ-
dc.contributor.authorสวัสดิ์ประภา, สุบัน-
dc.contributor.authorฤๅชัย, อภิชญา-
dc.date.accessioned2022-10-11T08:33:18Z-
dc.date.available2022-10-11T08:33:18Z-
dc.date.issued2565-10-11-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1091-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ๒) เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี และ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เริ่มจากการศึกษาและรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย ตำราทางวิชาการ วารสารและสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ในจังหวัดเพชรบุรี พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ แล้วทำการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทำการประเมินความเหมาะสม เพื่อปรับปรุงนำเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ในจังหวัดเพชรบุรี ๑) พระสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติดี มีวุฒิภาวะ มีองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับการยอมรับทั้งจากสังฆาธิการ เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนตามความสัมพันธ์เชิงศาสนา มีบทบาท ตำแหน่ง หน้าที่ในองค์กรอยู่ก่อนแล้ว ท่านควรต้องได้รับการฝึกอบรม “หลักสูตรการต่อต้านทุจริต” จากหน่วยงานของรัฐ เพื่อท่านจะได้เป็นผู้นำเสนอการต่อต้านทุจริต ทั้งทางภาคทฤษฎีและหลักการที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง พร้อมภาคปฏิบัติวิธีการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเป็นศูนย์การดำเนินการดังกล่าว ๒) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีคุณภาพ มีทักษะการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมาภิบาล และระเบียบปฏิบัติของท้องถิ่น มีคุณธรรม จริยธรรม ต้องยกเลิกระบบอุปถัมภ์ ส่งเสริมระบบคุณธรรมให้ประจักษ์แก่ชุมชน โดยการสร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยอมรับความคิดเห็นและบทบาทของประชาชนที่เข้าร่วม ในรูปแบบคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้ธรรมาภิบาล ทั้งหลักนิติศาสตร์ คือ พิจาณาให้คุณให้โทษตามกฎหมาย และหลักรัฐศาสตร์ คือ ความถูกต้องเป็นธรรมตามจารีตประเพณี วัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีของประชาชน และ ๓) สำหรับภาคประชาชนต้องมีสำนึกความเป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แบบชุมชนเครือข่ายต่อต้านการทุจริตตามเจตนารมณ์ “ท้องถิ่นซื่อสัตย์ ภาครัฐโปร่งใส” สามารถถูกตรวจสอบจากทั้งบุคคลภายนอกและจากประชาชนในท้องถิ่น จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต เช่นจัดการประกวด แข่งขัน และอื่นๆ เพื่อประกาศยกย่องบุคคลดีเด่นตัวอย่าง จากภาคประชาชนในชุมชน ๒. การวิเคราะห์ การเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ในจังหวัดเพชรบุรี ๑) พระสงฆ์ คือ ผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือ ให้คำปรึกษาต่อชุมชน สังคม และภาครัฐ ในเรื่องต่างๆรวมทั้ง การป้องกันและต่อต้านการทุจริต ในรูปแบบของโครงการฝึกอบรมหลักศีลธรรม ๒) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่บริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยความโปร่งใส สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบข้อบัญญัติต่างๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีอันดีของประชาชน ต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลและผลงานให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง ผ่านโครงการ กิจกรรม และวิธีการอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับและทุกพื้นที่ของชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ร่วมเป็นคณะกรรมดำเนินงาน สามารถถูกตรวจสอบงานและบุคลากรได้ในทุกระดับ และ ๓) ภาคประชาชน ต้องมีส่วนร่วมกับชุมชนและภาครัฐ สามารถเข้าถึงข้อมูลของท้องถิ่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่น ดำเนินการด้วยระบบกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนที่ ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆในท้องถิ่น ซึ่งได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการทำงานร่วมกัน ๓. เพื่อศึกษาและนำเสนอวิธีการป้องกันและควบคุมทุจริต โดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี๑) พระสงฆ์ต้องดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมบริหารกำหนดหลักสูตรการอบรมตามแนวทางพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาย เพื่อการป้องกันและการควบคุมการทุจริต ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชนต่างๆที่อาจมีความหลากหลายแตกต่างกัน ๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องยึดหลักธรรมาภิบาลปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมโปร่งใส มีการป้องกันและควบคุมการทุจริต ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนในท้องถิ่นการจัดทำโครงการ แผนงาน แผนดำเนินการ ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เปิดรับฟังข้อคิดเห็นเสนอแนะ เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อ-จัดจ้าง และมีความพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่บุคลากรต่อสาธารณะชน เปิดเผยวิธีการขั้นตอนระเบียบปฏิบัติและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาข้อกล่าวหาการกระทำทุจริต ตลอดจนการลงโทษตามความหนักเบา และ ๓) ภาคประชาชนต้องสนใจศึกษาปัญหาของชุมชนในพื้นที่ เพื่อการมีส่วนร่วมกันกับภาครัฐ ศึกษากฎหมายและระเบียบปฏิบัติขององค์การปกครองท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐ กำหนดวิธีการประสานความร่วมมือจากตัวแทนภาคประชาชนทุกระดับของท้องถิ่น โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและควบคุมการทุจริต เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ และจัดให้มีระบบกลไกการตรวจสอบภายในจากภาคประชาชน กำหนดกิจกรรมการประชุม การสัมมนาการออกตรวจเยี่ยม การรณรงค์ การส่งเสริม และการเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น The objectives of this research are; 1) to study the relationship factors of how to enhance a cooperation in prevention and anti corruption by: Sangha, local government organization and public sector in Phetchburi Province. 2) to analyze of how to enhance a cooperation in prevention and anti corruption by: Sangha, local government organization and public sector in Phetchburi Province. 3) to study and propose of how to enhance a cooperation in prevention and anti corruption by: Sangha, local government organization and public sector in Phetchburi Province. This is a qualitative research, starting from the study and collecting of data from Tripitaka scriptures, theses, researches, academic texts, journals and other concerned mass media. These are done by Sangha, local government organization and public sector in Petchburi Province. Thus including the receiving of recommendations in various aspects to analyze and conclude appropriated update results for further submission. The research’s results founded; 1.The relationship factors in enhancing cooperation in prevention and anti corruption by Sangha, local government organization and public sector in Petchburi Province. 1.1 Good practical Buddhist monks who are mature and enriched knowledge in both worldly and religious way are recognized by Sangha Administrative Officers, local government officers and public sectors and those Buddhist monks are already dwelling harmoniously in the community as religious relations persons by their positions and duties. Sangha should be received an “Anti Corruption Training Course” from a state’s unit in order to enable them to bring out their suggestions to prevent and resist corruption in both theory and right principal that are conformed to the fact. And the Sangha should be a practical part to solve the problems by setting up a community’s training unit as a center of the said activity. 1.2 The local government personnel must have good quality persons with practical skills to conform to the principle of laws, rules, reglations and good governance to that locality. They must have good ethics such as to cancel a patronage system. Promote a visible merit system for the community by building up and support people’s participation activities. Accept people opinions and participation roles in a form of a local development committee and a committee to follow up and evaluate the local development programs. The state’s officers must use a principle of good governance in jurisprudence, given pro and cons on a penalty to the law. A so local government officers must follow the righteousness of a political principal on a good customs and moral of the people. 1.3 For the public sector that must be realized as a good citizen to be parted to follow up works of the state’s office in the form of a community net works to anti corruptions as quoted as a will “ Honesty Local, Transparency State’s Office”. Enable to be inspected by both outsider personnel and by people in the community. Public sector should organize various campaigns against corruptions such setting up competitions contests etc., to praise the outstanding persons from the public sector in that community. 2. Analyze the enhancement of a cooperation in prevention and anti corruption by Sangha, local government organization and public sector in Phetchburi Province. 2.1 Sangha are the spiritual leaders and are respected in giving advice to the community, as well as to society and state’s officers. That are also included the prevention and anti corruption activity, especially in form of training of a morality program 2.2 The local government organization is responsible for public administration transparently for the benefits of people in the community with the harmony of laws, regulations, culture, tradition and good morality. It is possible to open data information and their works for people acknowledgement via projects, activities and other methods in order to give an opportunity to all level of people in the areas to take part in those activities as a working group committee. 2.3 The public sector must be parted with the community and state party that can reach the local data information in order to protect the local benefits. This is done by a qualified knowledge people in various aspects in the public sector net works which they were recognized by state officers hat are working together. 3. To study and propose method to prevent and anti corruption by Sangha, local government organization and public sector in Phetchburi Province. 3.1 Study methods to prevent and anti corruption; Sangha should implement in a form of an administration committee to set up training courses that follow Buddhist religious teachings as well as the rules of law to prevent and to anti corruption in concordance with the various communities’ necessities and desires. 3.2 The local government organization must follow tangible good governance with transparency practice. They must have prevention and anti corruption means, conform to the rules and to the Good Public Administration Procedure A.D. 2003. The local government organization must educate their governed to know kinds of laws that have been implemented in the community. Give opportunity to public sector to take part in hearings and receiving their opinions, proposals and other recommendation on projects, plans, operational plans. Openly given information data on pr curements and be prompted to inform to public if there is corruption of their officers. Set up steps of work process and time frame to be used for the disciplinary actions on corruption cases including the penalties in accordance with the weight of the cases. 3.3 The public sector should pay attention to learn the community problems in their area in order to be parted with the local government. They should learn local laws, rules and regulations. The coordination of local government officers and the public sector at all levels should be prescribed properly. Ad hoc committee must be set up to prevent and anti corruption in order to accomplish the goal and objective. And there should have an internal auditor by public sector as a mean to examine the cases. Set up activities on meetings, seminars, inspections, campaigns, promotions and inviting people for activities should be continuously prescribed by cooperation with local government officers to protect the local community benefits.en_US
dc.subjectการเสริมสร้างความรู้en_US
dc.subjectการป้องกันและการควบคุมการทุจริตen_US
dc.subjectพระสงฆ์en_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectภาคประชาชนen_US
dc.titleการเสริมสร้างความรู้และควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Cooperation Strengthening and Corrupt Controlling done by Monks People and Local Administrative Organization in Phetchaburi Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:งานวิจัย



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.