Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-25T13:53:40Z-
dc.date.available2021-07-25T13:53:40Z-
dc.date.issued2018-06-29-
dc.identifier.issn0859-9432-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/108-
dc.descriptionหลักการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่แพร่หลายไปทั่วโลกและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเกี่ยวข้อง กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นความรู้จากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ส่วนใหญ่เป็นความรู้ซึ่งตั้ง อยู่บนพื้นฐานปรัชญาแบบตะวันตก และได้มีการนำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ไนภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โลกภาคตะวันออกก็ได้มีการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ในหลายลักษณะ ทั้งที่ใช้เพียงบางส่วน ใช้โดย ลอกเลียนแบบมาทั้งหมด รวมทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ ผลก็คือใช้ได้ผลบ้างและไม่ได้ผลบ้าง เนื่อง มาจากปัจจัยแวดล้อมบางอย่างที่แตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นจาก การรับเอาองค์ความรู้แบบตะวันตกเพียงอย่างเดียวมาใช้บางครั้งอาจไม่ได้ก่อให้เกิดผลดี และแม้ว่า การนำความรู้ดังกล่าวจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสินค้าและบริการหรือภารกิจที่แตกต่างกัน แต่ ที่เหมือนกันคือ การสร้างแรงจูงใจโดยใช้ค่าตอบแทนด้วยเงินเดือน การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ทำให้ คนในองค์การเกิดการแข่งขัน และนำมาสู่กลวิธีในการแสวงหาผลประโยชน์ และสิ่งที่ต้องการโดย ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนจะมีความสุขต้องมีเงินก่อน การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องความยากจน มีรายได้น้อยเป็นปัญหาสำคัญ บุคคลจึงมีหน้าที่เป็นปัจจัยการผลิตที่ดี และได้รับรางวัลเป็นเงินเพื่อที่จะบริโภคได้มาก ๆ เมื่อได้รับรางวัลจากการบริโภคได้มากก็จะเพิ่ม แรงจูงใจในการทำงานเพื่อการผลิตให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อจิตใจของคนในทางที่ตกต่ำ เช่น ก่อให้เกิดการเห็นแก่ตัว แย่งชิงทรัพยากรเป็นค่าตอบแทนที่องค์การมอบให้ อาจจะกระทบไปถึง ความชื่อสัตย์และคุณธรรมในด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลเชิงลบจากการนำแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามปรัชญาแบบตะวันตกมาใช้โดยขาดความระมัดระวังen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรทางพระพุทธศาสนาและ ศาสนาคริสต์และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทขององค์กรทางพระพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์กับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์โดยดำเนินการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษากับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทางพระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ จำนวน 10 คน โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระพุทธศาสนา ตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา และศาสนาคริสต์มีแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ใน 4 ประเด็น คือ 1) ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ พระเจ้าสำคัญที่สุดโดยการสร้างคนให้ถูกต้องตามคำสอน ของศาสนา สอนให้มีอุดมการณ์ปรัชญาชีวิตอยู่บนฐานของศาสนา 2) หลักคำสอนในพระคัมภีร์เก่าและใหม่ คำสอนนี้ใช้ในวันอาทิตย์โดยบาทหลวงสอนเรื่องความรักและความเมตตาและรักศัตรูของท่าน การให้อภัย ความอดทน 3) การดำเนินชีวิตของผู้ที่เป็นของชาวคริสต์อยู่บนฐานของความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า จะพบ ความสุขแท้ ลดละเลิกไม่ทำบาป และ 4) ความสุขแท้ ชีวิตนิรันดรที่อยู่กับพระเจ้า 2. กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรทางพระพุทธศาสนาเป็นการนำหลักธรรมมา ประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ อริยสัจ 4 ไตรสิกขา 3 ศีล 5 สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหารธรรม 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 กุศลมูล 4 และศาสนาคริสต์ได้มีกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยอาศัยองค์ประกอบ 8 ประการ 3. บทบาทขององค์กรทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นดำเนินการโดย การให้การศึกษาอบรม และการศึกษาทางจริยธรรม ส่วนองค์กรทางศาสนาคริสต์สอนให้คนสวดให้กันขอพรจากพระเจ้า มีหน้าที่ที่ต้องรักและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นen_US
dc.relation.ispartofseriesวารสารวิชาการ วารสารเซนต์จอห์น, ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๙ (กรกฎาคม-ธันวาคม);-
dc.subjectการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บทบาทองค์กรทางศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์en_US
dc.titleการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวคิดและบทบาท องค์กรทางศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์en_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.