Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1077
Title: การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศไทย
Other Titles: The Practical Form and Examination of Theravada Meditation in Thailand
Authors: พระมหาชิต ฐานชิโต
พระครูพิพิธวรกิจจานุการ
Keywords: การสอบอารมณ์กรรมฐาน
การปฏิบัติกรรมฐาน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์ กรรมฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐาน ๕ ส านัก ในประเทศไทย (๓) เพื่อเสนอรูปแบบการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะสมกับประเทศ ไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และต ารา วิชาการทางพระพุทธศาสนาเป็นส าคัญ ผลการวิจัยพบว่า กรรมฐาน คือ ที่ตั้งแห่งการงาน ได้แก่การฝึกจิตเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ ๑) สมถกรรมฐานมี ๔๐ อย่าง กสิณกรรมฐาน ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปกรรมฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๔, ๒) วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นปัญญาที่พิจารณาเห็นไตรลักษณ์ละสังโยชน์ ๑๐ ประการจนสามารถบรรลุพระอรหันต์ ได้พระพุทธองค์ตรัสกรรมฐานคือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานไว้กับพุทธบริษัท ๔ ได้ ประพฤติและปฏิบัติตามต่างกรรมต่างวาระกัน ส่วนแนวทางการสอบอารมณ์กรรมฐานเช่นในอนัตต ลักขณสูตร และในจปลายมานสูตร ทรงสอนอุบายแก้ง่วงแก่พระมหาโมคคัลลานเถระจนได้บรรลุพระ อรหันต์ในเวลาต่อมา หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอบอารมณ์กรรมฐานที่เป็นปัจจัยแก่กันและกันมี ๗ หมวด ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่เป็นสาระแก่นสารแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐาน ๕ ส านักในประเทศไทย คือ ๑) กรรมฐานแบบพอง ยุบตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) มีการก าหนดภาวะที่พอง-ยุบตามความ เป็นจริงของรูปนาม ส่วนการสอบอารมณ์ผู้สอบอารมณ์จะสอบอยู่ในกรอบของสติปัฏฐาน ๔ โดยใช้ ทักษะการถาม การสังเกต การแนะน า และการให้ก าลังใจ ๒) กรรมฐานแบบพุท-โธ ตามแนวหลวงปู่ มั่น ภูริทตฺโต มีการภาวนา“พุท-โธ” และการก าหนดลมหายใจเข้า-ออก มีวิธีก าหนดจิตในฐาน ๕ คือ จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อมข้างนอก ในสมองตรงกลาง กะโหลกศีรษะ และทรวงอก มีการวางอารมณ์ที่ดีและอารมณ์ที่ชั่วไปตามสภาพอารมณ์เป็นต้น ๓) กรรมฐานแบบสัมมา-อะระหังตามแนว พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) มีวิธีการปฏิบัติมุ่งให้เรียนรู้เกี่ยวกับฐานทั้ง ๗ เช่น ฐานที่ ๑ ปาก ช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา และฐานที่ ๗ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ และที่ศูนย์กลาง กายนี้ เป็นที่ตั้งแห่งการพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรมก็จะสามารถเห็นสภาวธรรมที่เกิดดับได้ ๔) กรรมฐานแบบเคลื่อนไหว ตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ มีการเจริญสติยึดวิธีการปฏิบัติแบบ เคลื่อนไหวเป็นหลักใช้สติก าหนดรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย โดยไม่ยึดติดกับรูป แบบเดิมเพื่อจูงจิตให้เกิดสมาธิและมีการสอบอารมณ์กรรมฐาน ๕) กรรมฐานแบบอานาปานสติตาม แนวพุทธทาสภิกขุ มีการเจริญอานาปานสติคือ การใช้สติก าหนดพิจารณาลมหายใจในกาย เวทนา จิต ธรรม มีการปฏิบัติ ๑๖ ขั้น เพื่อบ่มเพาะสติสัมปชัญญะ เป็นการเจริญสมถะน าหน้าวิปัสสนา ส่วนรูปแบบการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะสมกับประเทศไทย แบ่งเป็น วิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนากับ ส านักปฏิบัติธรรม ๕ ส านักในประเทศไทย คือ ๑) ส านักกรรมฐานแบบพอง-ยุบตามแนวพระธรรมธีร ราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) มีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก แต่จะใช้สติปัฏฐาน ๔ มีการ ก าหนด ยุบหนอ-พองหนอ เป็นอารมณ์หลัก ๒) ส านักกรรมฐานแบบพุท-โธตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก แต่จะใช้กายคตาสติภาวนามีการก าหนดพุท-โธ เป็น อารมณ์หลัก ๓) ส านักกรรมฐานแบบสัมมา-อะระหังตามแนวพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) มี ความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก แต่จะใช้สติปัฏฐาน ๔ มีการก าหนดสัมมา-อรหังเป็นอารมณ์หลัก ๔) ส านักกรรมฐานแบบเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ มีความสอดคล้องกับ พระไตรปิฎก แต่จะใช้สติปัฏฐาน ๔ ข้อที่ ๑ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ๑๕ จังหวะเป็นหลัก ๕) ส านักกรรมฐานแบบอานาปานสติตามแนวพุทธทาสภิกขุ มีความสอดคล้อง กับพระไตรปิฎก แต่จะใช้สติปัฏฐาน ๔ กับอานาปานสติเป็นหลักส าคัญในการปฏิบัติ ส่วนรูปแบบ การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือการปฏิบัติและการสอบ อารมณ์กรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม เพราะเป็นการปฏิบัติที่ ถูกต้องตามพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ที่พระพุทธองค์ทรงวางแนวทางในการปฏิบัติและการ สอบอารมณ์กรรมฐานตั้งแต่สมัยพุทธกาล และมีการประยุกต์เรื่องการปฏิบัติและการสอบอารมณ์ให้ เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติกรรมฐานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1077
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.