Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1076
Title: คัมภีร์ลฆุเกามุที : ปริวรรต แปลความและการศึกษาวิเคราะห์
Other Titles: LAGHU KAUMUDĪ: TRANSLITERATION, TRANSLATION AND ANALYTICAL STUDY
Authors: พระมหาชิต ฐานชิโต
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อปริวรรตคัมภีร์ลฆุเกามุทีฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีเป็นสันสกฤตอักษรไทย (๒) เพื่อแปลความคัมภีร์ลฆุเกามุทีฉบับภาษาสันสกฤต อักษรไทยเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์ลฆุเกามุทีในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา คุณค่าความสอดคล้องสัมพันธ์กันทางกฎเกณฑ์ไวยากรณ์กับไวยากรณ์ภาษาบาลี ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์ลฆุเกามุทีเป็นหลักสูตรแบบย่อความของหลักไวยากรณ์สันสกฤต เพื่อให้ผู้ศึกษาภาษาสันสกฤตเบื้องต้นมีความเข้าใจง่ายขึ้น โดยได้น าศูตรของปาณินิคือ อัษฎธยายี มา เป็นหลักประกอบกับคัมภีร์ด้านไวยากรณ์อื่น ๆ มาช่วยในการอธิบายกฏเกณฑ์ทางภาษาสันสกฤต เพื่อให้ผู้เริ่มเรียนเข้าใจง่ายขึ้น คัมภีร์นี้แต่งโดย วรทราชะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อท าให้เข้าใจหลักไวยากรณ์สันสกฤตได้ง่ายขึ้น เนื้อหาหลัก ๑๑ ส่วนคือ ๑) ส ชฺญา ๒) ส ธิ ๓) สุพนฺต ๔) อวฺยย ๕) ติงนฺต ๖) ปฺรกฺริยา ๗)กฤทนฺต ๘) สมาส ๙) ตทฺธิต ๑๐) สฺตฺรีปฺรตฺตย ๑๑) การก ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับโครงสร้างของหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีแต่มีการท าค าซับซ้อนการท าสนธิ มากกว่า โดยรูปสูตรเป็นหลักประกอบด้วย ๑) ศูตร แสดงชื่อ หลักการ วิธีการเป็นบทตั้ง ๒) วฤตติ เป็นค าอธิบายของสูตร ๓) อุทาหรณ์การยกตัวอย่างน ามาอ้างอิง การวิเคราะห์ด้านนามศัพท์ มีการกล่าวบทน าเป็นข้อ มีการจัดเรียงล าดับสูตรใหม่จากเดิม ส่วนประกอบของนามศัพท์มี ลิงค์ พจน์ วิภักติ การันต์ ปรัตยยะ ในการประกอบค าแบ่งเป็นศูตรคือ สัญชญาศูตร ปริภาษาศูตร วิธิศูตร นิยมศูตร อติเทศศูตร และอธิการศูตร โดยมีการสร้างค านาม ประกอบกิริยาและรูปศัพท์ต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นแบบแผนเดียวกันกับคัมภีร์ไวยากรณ์ภาษาบาลีซึ่งใช้มา ตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนที่ต่างกันคือภาษาบาลีได้มีการพัฒนาไปสู่ภาษาที่เข้าใจง่าย ศัพท์แต่ละค ามีการ เปิดโอกาสให้ตีความหมายได้มากกว่าภาษาสันสกฤต และความหมายหนึ่งสามารถใช้ค าเรียกได้หลาย ค า และที่ส าคัญที่สุดคือรากฐานของการประกอบศัพท์นั้นภาษาบาลีเชื่อมโยงกับการที่ความหมายค า หรือรากค าต้องสอดคล้องกับค าสอนของพระพุทธเจ้าโดยมุ่งที่สภาวปรมัตถ์ ส่วนรากศัพท์ของ สันสกฤตน ามาจากอรรถและธาตุและเชื่อมโยงกับความเชื่อแบบเทวนิยม ไวยากรณ์สันสกฤตที่ต่างจากภาษาบาลีที่ชัดเจนคือ สันสกฤตมีสระ ๑๔ ตัว แบ่งเป็น ๓ ขั้นคือ ปกติ คุณะ วฤทธิ พยัญชนะ ๓๕ ตัวแบ่งเป็น ๒ กลุ่มคือวรรคและอวรรค ส่วนค านามมีลิงค์ ๓ เหมือนกันกับบาลี วจนะมี ๓ คือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหุพจน์ ในขณะที่บาลีไม่มีทวิพจน์ วิภักติมี เช่นเดียวกันทั้งวิภักตินามและวิภักติอาขยาต ในวิภักตินามสันสกฤตมี ๓ กลุ่มย่อยคือ ๑)ปัญจสถาน ๒) ภสถาน ๓) กลุ่ม ปทสถาน แต่ในภาษาบาลีไม่มีการแบ่งกลุ่ม มีวิภักติ ๑๔ ตัว การันต์มี ๒ ลักษณะคือ สระการันต์และพยัญชนะการันต์ส่วนในภาษาบาลีมีเพียงสระการันต์เท่านั้น ส าหรับกริยา(ธาตุ) จ าแนกกริยาไว้ถึง ๑๐ คณะ แต่ละคณะมีการเปลี่ยนรูป แตกต่างกันไป กริยาเหล่านี้จะแจกรูป ตามประธาน ๓ ตามกาล ๖ ชนิด และตามมาลา ๔ ชนิด แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของภาษา สันสกฤตและบาลีแม้คัมภีร์ลฆุเกามุทีเป็นเพียงคัมภีร์ประเภทไวยากรณ์แต่มีคุณค่า ๑) ด้าน วรรณกรรมมีโครงสร้างซึ่งเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์ ๒) ด้านการเป็นต้นแบบของ คัมภีร์ส าเร็จรูปไวยากรณ์รุ่นหลัง ๓) คุณค่าต่อการศึกษาไวยากรณ์ภาษาบาล
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1076
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.