Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาขวัญชัย, กิตฺติเมธี,ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2022-09-01T01:40:12Z-
dc.date.available2022-09-01T01:40:12Z-
dc.date.issued2565-08-30-
dc.identifier.citationTCI 2en_US
dc.identifier.issn0858-8325 Print; 2651-219x Online-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1070-
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบของวัดสมานรัตนารามที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน การศึกษานี้เป็นการศึกษาจากเอกสารและบทสัมภาษณ์ จากการศึกษาพบว่า วัดสมานรัตนารามมีรูปแบบที่สนองความต้องการของชุมชน ผ่านการจัดรูปแบบให้เป็นวัดสร้างประโยชน์ทันตาเห็น ซึ่งชาวบ้านสามารถเข้ามาประกอบอาชีพภายในวัดได้ มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในวัดให้เป็นสถานที่พักผ่อน มีความเป็นระเบียบและสะอาด มีสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ยึดมั่น และเกิดความศรัทธาในคุณธรรมความดีที่ปรากฏในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น และมีการบริหารจัดการที่เป็นธรรมและก่อความสามัคคี ผ่านการบริหารจัดการของเจ้าอาวาสที่จัดการคุณภาพและราคาสินค้าที่เป็นธรรม อีกทั้งมีการการสร้างสถานที่ให้เหมาะสำหรับการไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญ และวางรูปแบบการสร้างและจัดการวัดด้วยการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ภายในวัด สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดความเกี่ยวข้องกันระหว่างวัดกับชุมชน ไม่เน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ไม่เกิดประโยชน์ มีรูปแบบการสร้างและจัดการทางด้านจิตใจ ผ่านการบ่มเพาะคำสอนทางศาสนาในเรื่องศรัทธา การให้ทานและความกตัญญู มีการพัฒนาวัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในแง่ของการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ภายในวัด สุดท้ายเป็นวัดที่มีรูปแบบทางกายภาพร่มรื่น ปลอดภัย เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย และเดินทางไปมาสะดวก วัดสมานรัตนารามและวัดในอุดมคติทางพระพุทธศาสนามีความเหมือนกันในแง่ของความเป็นวัดทางด้านจิตใจในแง่ของความศรัทธาและการให้ทาน และมีรูปแบบการจัดการให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน มีการส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาชุมชน เป็นที่พึ่งพิงยามยากลำบาก ส่วนความต่างกันคือ วัดสมานรัตนารามก่อสร้างสิ่งต่างๆ ในวัดตามศรัทธา และพัฒนาวัดให้ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง มีวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับชุมชนนั้นอย่างแยกไม่ออก รูปแบบวัดดังกล่าวนี้จะพบในแบบวัดคามวาสีและนครวาสี โดยมีเจ้าอาวาสเป็นศูนย์กลางของการปกครองและพัฒนาวัด ขณะที่วัดในอุดมคติทางพระพุทธศาสนาเน้นไปที่การสร้างวัดให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของนักบวชหรือบรรพชิตที่เน้นความสงบ เรียบง่ายและไม่วุ่นวาย วัดในแบบนี้เป็นการแสวงหาสถานที่อันเหมาะสมสำหรับการเป็นอยู่ของนักบวชมากกว่าจะสร้างขึ้นใหม่ เป็นรูปแบบวัดแบบอรัญญวาสี และการสร้างหรือบูรณะวัดนั้นเป็นเรื่องของชุมชนจะดำเนินการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของพระภิกษุen_US
dc.description.sponsorshipศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2564en_US
dc.publisherวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565en_US
dc.subjectรูปแบบen_US
dc.subjectวัดสมานรัตนารามen_US
dc.subjectความต้องการของชุมชนen_US
dc.titleรูปแบบวัดสมานรัตนรามที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนen_US
dc.title.alternativeWat Saman Rattanaram’s Formation that Satisfies the Community’s Needsen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.