Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/106
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-25T13:33:35Z-
dc.date.available2021-07-25T13:33:35Z-
dc.date.issued2017-01-01-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/106-
dc.descriptionพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าแก่มีความสาคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี รศ.เสนอ นิลเดช กล่าวถึงประวัติเมืองพิษณุโลกไว้ในหนังสือ “สองแควเมื่อวานพิษณุโลกวันนี้” ว่า พิษณุโลกเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหลักฐานพอที่จะเป็นสิ่งบอกได้ว่า ในดินแดนส่วนนี้เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยหินมาก่อน มีหลักฐานที่ค้นพบก็คือขวานหินขัดสมัยหินใหม่ หรือที่เรียกว่า “ขวานฟ้า” ที่มนุษย์ในยุคหินใหม่ได้นาเอาหินมาลับให้คม และทาเป็นรูปขวานเพื่อใช้เป็นอาวุธ และเครื่องมือต่างๆ มีอายุราว ๒,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว โดยมีการค้นพบแหล่งเมืองโบราณที่สาคัญ คือ การค้นพบในท้องที่อาเภอพรหมพิราม พบตามแนวถนนสายใหม่ (พิษณุโลก – หล่มสัก) พบในท้องที่อาเภอนครไทย ที่สาคัญคือผนังถ้าภูเขาสูงที่เรียกว่า “ผากระดานเลข” ซึ่งมีถ้าอยู่บนภูเขา ภายในถ้ามีแผ่นหินหน้าเรียบ มีรูเป็นแนวเรียงกัน มีรอยขูดรีดแบบแผนที่หรือลายเรขาคณิต ซึ่งจัดไว้ในยุคโลหะ นับได้ว่าส่วนหนึ่งของดินแดนที่เป็นเมืองพิษณุโลกนั้นได้ปรากฏขึ้นแล้วในสมัยก่อนประวัติศาสตร์en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในจังหวัดพิษณุโลกสมัยสุโขทัย (๒) เพื่อศึกษาพุทธศิลป์แบบพระพุทธชินราชที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยปัจจุบันวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร โดยค้นคว้าจากหนังสือ และเอกสารเกี่ยวกับ ปฏิมากรรมพุทธศิลป์สมัยต่างๆ ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า พิษณุโลกเป็นเมืองเก่าแก่สืบย้อนไปถึงสมัยพ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งต่อมาคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้สถาปนาวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อสุโขทัยเป็นราชธานี พิษณุโลกก็เป็นเมืองลูกหลวง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการสร้างพระพุทธรูปจึงร่วมสมัยกับสุโขทัย พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุด สร้างสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบเชียงแสนผสมกับสุโขทัย โดยพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ได้รับอิทธิพลของศิลปะสมัยคุปตะและปาละของอินเดีย พระพุทธรูปในสมัยสุโขทัยยุคต้นและในช่วงยุคกลาง ต่อมาสกุลช่างแบบอย่างพระพุทธชินราชได้เจริญขึ้นในเมืองพิษณุโลก(พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๙๘๑) สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท (พ.ศ. ๑๘๙๐ - ๑๙๑๖) หลังจากนั้นทาให้ศิลปะของสมัยสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง ดังนั้น จึงพบว่าพระพุทธชินราชมีความงดงามตามแนวพุทธศิลป์สุโขทัยยุคต้น พระพุทธชินราชเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย และมีลักษณะฝีมือช่างอันประณีตเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงแยกออกเป็นหมวดพระพุทธชินราชมีพระพุทธรูปสาคัญสร้างยุคเดียวกันอีกหลายองค์ เช่นพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระสิทธารถ พระเสฏฐตมมุนี พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร และพระพุทธชินสีห์มุนีนาถ เป็นต้น พุทธศิลป์แบบพระพุทธชินราชได้มีการสร้างจาลองสืบต่อกันเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดนวลนรดิศ และวัดไทยพุทธคยา เป็นต้น ตลอดจนพระบูชาและพระเครื่องขนาดต่างๆ ในปัจจุบัน พุทธศิลป์ขององค์พระพุทธชินราชสามารถเป็นสื่อที่สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้มานมัสการได้ เกิดปีติเมื่อได้เห็นความงดงาม เห็นความสงบจากองค์พระพุทธชินราช ก็เกิดพลังในการทาความดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีหลักพระธรรมคาสั่งสอนที่ดีงามเป็นเครื่องดาเนินชีวิตต่อไปเพื่อระงับทุกข์ได้ในปัจจุบันen_US
dc.publisherวารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์en_US
dc.relation.ispartofseriesปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐;-
dc.subjectปฏิมากรรมพุทธศิลป์, พระพุทธชินราชen_US
dc.titleประวัติและพัฒนาการพระพุทธศาสนาในจังหวัดพิษณุโลกสมัยสุโขทัย : กรณีศึกษาพุทธศิลป์แบบพระพุทธชินราชen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.