Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1062
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นวลวรรณ, พูนวสุพลฉัตร | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-27T08:46:59Z | - |
dc.date.available | 2022-08-27T08:46:59Z | - |
dc.date.issued | 2561-07 | - |
dc.identifier.issn | 2539-5777 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1062 | - |
dc.description | 580-761 หน้า | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “อโคจรในพระวินัยปิฎกกับสังคมไทยปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาอโคจรในพระวินัยปิฎก (2) เพื่อเสนอแนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอโคจรในพระวินัยปิฎกกับสังคมไทยปัจจุบัน โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และวินัยมุข ขณะเดียวกันก็ศึกษาแบบแผนการปฏิบัติทั้งเรื่อง อโคจรและบทลงโทษแก่ภิกษุผู้ละเมิดตามแนวแห่งกฎพระสงฆ์ พระราชบัญญัติการปกครอง คณะสงฆ์แต่อดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนพระมหาสมณวินิจฉัย สังฆาณัติ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งประกาศระเบียบทางการปกครองของคณะสงฆ์ที่ประกาศใช้เพื่อควบคุมอาจาระและอโคจรของภิกษุสามเณรในสังฆมณฑล อโคจร หมายถึงทั้งสถานที่อันภิกษุไม่ควรเข้าไปและตัวบุคคลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคมคลุกคลีด้วย เช่นซ่องโสเภณี บ่อนการพนัน สถานบันเทิงยามราตรี ร้านขายสุรา แหล่งมั่วสุมยาเสพติด ตลอดจนโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ย่านตลาดสินค้า เป็นต้น แนวทางปฏิบัติคือ พระสงฆ์ต้องยึดถือบทบัญญัติตามพระวินัย ยึดแนวอรรถาธิบายของพระอรรถกถาจารย์ พระคันถรจนาจารย์ และปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ข้อใดแม้ไม่ปรากฏก็ให้ถืออนุโลมตามวัตถุประสงค์แห่งการบัญญัติสิกขาบท 10 ประการว่าเป็นไปเพื่ออะไร ยึดหลักการตีความตามมหาปเทส 4 ยึดตามหลักเกณฑ์การตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการ ทั้งนี้ต้องนึกถึงเจตนาและสามัญสำนึกของตนเองว่าอะไรควรไม่ควร โดยคิดว่าอะไรเป็นปัณณัตติวัชชะ อะไรเป็นโลกวัชชะพึงงดเว้นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะของประชาชนไว้ เพื่อความอยู่ผาสุกของภิกษุสงฆ์และเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนา This research work entitled “Improper Haunts in Vinaya Pitaka and Thai Society at Present” is of two objectives, i.e., (1) to study haunts (Agocara) in Vinaya Pitaka, (2) to render suggestions and guidelines of right and proper practice to Thai society in the present day. The research is such a kind of documentary research focussing on various documents concerned such as Tipataka especially Vinaya Pitaka, the Vinaya commentaries, Vinayamukhu as well as other sources pertaining to the improper haunts including Sangha rules and regulations issued by the Government laws and the Council of Elders. The improper haunts, i.e., the places improper for monks and novices to go to and fro such as prostitutes, roaming the streets at unseemly hours, frequenting shows, indulgence in gambling, addiction to intoxicants, including association with powerful people and or bad companions. Suggestions to monks and novices are that they all have to follow the disciplines laid down by the Buddha in Vinaya Pitaka, follow the explanations prescribed by expert writers on Buddhism. They have to realize the reasons for laying down the course of Training for monks or purposes of monastic legislation, the four great authorities or principal references or citations, criteria of the Doctrine and the Disciplines. Monks have to think first of formulated fault and worldly fault, what proper or improper for monks and novices are to maintain faith and confidence of the public, for the comfort of the Order, and for the support of the discipline, all leading to the stability of Buddhism. | en_US |
dc.publisher | วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ | en_US |
dc.relation.ispartofseries | ปีที่ 4 ฉบับที่ 2;580-761 pp. | - |
dc.subject | อโคจร | en_US |
dc.subject | ความประพฤติสงฆ์ | en_US |
dc.title | อโคจรในพระวินัยปิฎกกับสังคมไทยปัจจุบัน | en_US |
dc.type | Article | en_US |
Appears in Collections: | บทความ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
อโคจรในพระวินับปิฎกกับสังคมไทยปัจจุบัน.pdf | 689.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.