Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1061
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง
Other Titles: A Study of Factors Influenced over King Lithai’s Tebhūmikathā
Authors: ดร.นวลวรรณ, พูนวสุพลฉัตร
ผศ.ดร. ตวงเพชร, สมศรี
ดร.ทรงวิทย์, แก้วศรี
Keywords: (ไตรภูมิพระร่วง)
(สื่่อนวัตกรรมในไตรภูมิ)
Issue Date: Jul-2563
Publisher: วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
Series/Report no.: ปีที่ 6 ฉบับที่ 2;71-83 PP
Abstract: บทความวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างของไตรภูมิและปัจจัยที่มีต่อการพระราชนิพนธ์ เรื่องไตรภูมิกถา และ (2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมให้สอดคล้องกับสังคมไทย ปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยดึงข้อมูลจากไตรภูมิพระร่วงเป็นตัวตั้ง เพื่อศึกษา แหล่งที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสต่างๆ นำมาวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การพระราชนิพนธ์ และสังเคราะห์มาเป็นแนวคิดและรูปแบบของนวัตกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ไตรภูมิ หมายถึงอบายภูมิ มนุสสภูมิ และสัคคภูมิ ที่สัตว์โลกจะต้องวนเวียนไปเกิด หากทำดีตายแล้วจะไปเกิดในมนุสสภูมิหรือสัคคภูมิ หากทำชั่วตายแล้วจะไปเกิดในอบายภูมิ ปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อพระมหาธรรมราชาลิไทยให้ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถา ประกอบด้วย ระบบการเมือง การปกครองแบบธรรมิกราชา คลื่นพระพุทธศาสนาที่เข้าสู่ประเทศไทยพร้อมกับศิลปกรรมและ วรรณกรรมพระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่อิงหลักการเพื่อความดีงามของสังคม ปัจจัยทุกด้านเป็น ผลมาจากปฏิสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างอินเดีย ลังกา พม่า และไทย ในยุคสมัยนั้น ซึ่งใน งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยแต่ละด้าน ตลอดจนอิทธิพลของไตรภูมิกถาทุกด้านที่มีต่อสังคมไทย ในสมัยต่อ ๆ มาด้วย ในตอนท้ายได้แสดงตัวอย่างการสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมในไตรภูมิกถาเพื่อ นำมาใช้กับสังคมไทยปัจจุบัน โดยเน้นให้เห็นว่า สื่อนวัตกรรมในสมัยสุโขทัยคือการสร้างสรรค์พุทธศิลป์เฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ลังกา มาเป็นรูปแบบ ของไทยสุโขทัย ซึ่งปัจจุบันนำมาเป็นแนวคิดและปรับปรุงเป็นสื่อนวัตกรรมแบบไทยแท้ รวมถึง นวัตกรรมในยุคหลังๆ ด้วยThis research paper entitled “A Study of Factors Influenced over King Lithai’s Tebhūmikathā” is of two objectives, viz. (1) to study the structures of Tebhūmikathā and analyze factors to the author’s composition of Tebhūmikathā; and (2) to provide a model of innovative development suitable to the way of life of Thai society at present. Research Methodology is a documentary research by which data appeared in Tebhūmikathā are main points with further composition from Buddhist Canons, commentaries and canonical texts depicting influences over King Lithai’s Tebhūmikathā. After analysis, then synthesis was taken to present the innovation from Tebhūmikathā at present in Thai society. Findings were that Three Planes, i.e., the lower worlds, the human world, and the heaven in which beings are to be born after death. If they do good, they shall be born in the human or heaven world. If they do evil, they shall be born in the lower world. The factors that influenced King Lithai to have written Tebhūmikathā came from politics and government system, the propagation of Buddhism into Thailand along with Buddhist arts and literature, including the Buddhist teachings engaged for social morale. All these factors were based on the interrelations among Buddhist Theravadin countries of India, Lanka, Burma, and Thailand in those periods. In this research, mentions are there on each factor as well as their influences toward the succeeding periods of Thailand. Lastly, innovation media on cosmology, hells-heavens, the law of karma, and the Buddhist principles for social goodness are reviewed and exhibited. What to be focused is on the creative idea of innovation derived from Buddhist arts especially architectures and sculptures of which their forms and patterns have been developed in later periods of Thai society.
Description: 71-83 หน้า
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1061
ISSN: 2539-5777
Appears in Collections:บทความ



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.