Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1055
Title: | ภาวะผู้นำด้านการปกครองคณะสงฆ์ในอาเซียน |
Other Titles: | The Leadership in Sangha Governance in ASEAN Community |
Authors: | ดร.ธานี, สุวรรณประทีป พระมหาสันติ ธีรภทฺโท, ดร. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร. |
Issue Date: | 2560 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการและความสำคัญของภาวะผู้นำด้าน การปกครองคณะสงฆ์ในประชาคมอาเซียน ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ส่งเสริมภาวะผู้นำด้าน การปกครองคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ของภาวะผู้นำด้านการปกครอง คณะสงฆ์ในประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาประเทศไทย และประเทศกัมพูชา ผลการวิจัยพบว่า หลักการและความสำคัญของภาวะผู้นำ กล่าวถึงความหมายของผู้นำ คือผู้ที่มีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในกลุ่ม มีบทบาทสำคัญในการนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายในการ ทำงาน ดังนั้น ผู้นำคือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งตั้ง การแต่งตั้ง การยกย่องจากกลุ่มชนเพ่อให้เป็นหัวหน้า เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีอิทธิพลในการนำหรือจูงใจผู้อื่น ให้กระทำหรือดำเนินกิจการ ต่างๆ ของกลุ่มหรือของตนเองให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และผู้นำต้องเป็นผู้มีคุณธรรม มีศีลธรรม จึงจะว่ากล่าวตักเตือนและลงโทษบุคคลอื่นๆ ได้ ผู้นำนั้นมีบทบาทในการวางแผน งานการสั่งการการ ตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การควบคุมดูแลงานสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพตลอดจนรับผิดชอบต่อการทำงานต่างๆ และผลักดันงานต่างๆ สำเร็จเป็นไปตามจุดหมาย ที่ตั้งไว้ ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ไทยนั้นอยู่ภายใต้การปกครองโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ โดย กำหนดอำนาจหน้าที่มหาเถรสมาคม เกี่ยวข้องกับการควบคุมและส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ ปัจจุบัน มหาเถรสมาคมมีอำนาจที่เกี่ยวกับงานคณะสงฆ์ ๖ ประเภท คือ ๑) การปกครอง ๒) การศึกษา ๓) การศึกษาสงเคราะห์ ๔) การเผยแผ่ ๕) การสาธารณูปการ ๖) การสาธารณสงเคราะห์ การ ปกครองคณะสงฆ์ในประเทศกัมพูชา สมเด็จพระมหาสังฆราช หรือ พระสงฆนายกมีหน้าที่คัดเลือก พระสงฆ์เถระในมหาเถรสมาคมที่มีความสามารถ เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ความรู้พร้อมทั้งพระสงฆ์ รองสมเด็จในตำแหน่งราชาคณะชั้นเอก เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัด พระสงฆ์ที่ดำรงตำแหน่งในการ ปกครองมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงานบริหารกิจการคณะสงฆ์ ๖ ประเภท เช่นเดียวกับการปกครอง คณะสงฆ์ไทย หลักพุทธธรรมที่ใช้ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านการปกครองคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พบผู้นำการปกครองคณะสงฆ์ได้น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย อคติ ๔, ปาปณิกธรรม ๓, อิทธิบาท ๔, พหูสูต ๕, ภาวนา ๔, กัลยาณมิตร ๗, หลักพระธรรมกถึก ๕, พุทธวิธีการสอน ๔, สัปปายะ ๗, พรหมวิหารธรรม ๔, สังคหวัตถุ มาใช้ในการ บริหารกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านประกอบด้วย การปกครอง, การศาสนศึกษา, การศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่, การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ องค์ความรู้ของภาวะผู้นำด้านการปกครองคณะสงฆ์ในประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษา ประเทศไทย และประเทศกัมพูชา พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ รูปแบบ “A P I B B K D D S B S Model” ถือว่ามีคุณค่าและเป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ของภาวะผู้นำ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ในประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาประเทศไทย และประเทศกัมพูชา (๑) “A” (Agati ๔) = ผู้น าด้านการปกครองคณะสงฆ์ควรศึกษาหลักอคติ ๔ (๒) “P” (Papanika Dhamma ๓) = ผู้นำด้านการปกครองคณะสงฆ์ควรมีหลักปาปนิกธรรม ๓ (๓) “I” (Iddhipada ๔ ) = ผู้นำด้านศาสนศึกษาควรมีหลักอิทธิบาท ๔ (๔) “B” (Bahussutanga ๕) = ผู้นำด้านศาสน ศึกษาควรมีหลักพหูสูต ๕ (๕) “B” (Bhavana ๔ ) = ผู้นำด้านศึกษาสงเคราะห์ควรมีหลักภาวนา ๔ (๖) “K” (Kalanamitta-dhamma ๗) = ผู้นำด้านศึกษาสงเคราะห์ควรมีหลักกัลยาณมิตร ๗ (๗) “D” (Dhammadesaka-Dhamma ๕) = ผู้นำด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรมีหลักหลัก พระธรรมกถึก ๕ (๘) “D” (Desanavidhi ๔ ) = ผู้นำด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรมีหลัก พุทธวิธีการสอน ๔ (๙) “S” (Sappaya ๗ ) = ผู้นำด้านสาธารณูปการควรมีหลักสัปปายะ ๗ (๑๐) “B” (Brahmavihara ๔ ) = ผู้นำด้านสาธารณสงเคราะห์ควรมีหลักพรหมวิหาร ๔ (๑๑) “S” (Sangahavatthu ๔ ) = ผู้นำด้านสาธารณสงเคราะห์ควรมีหลักสังคหวัตถุ ๔ This research aims at the followings; 1) studying the principle and significance of leadership of Buddhist Sangha Administration in ASEAN community, 2) studying Buddhadhamma to support the Sangha administration in leadership in Buddhism, 3) to figuring out the Sangha administration knowledge in ASEAN community in case study in Thailand and Cambodia. The results revealed that leadership refers to those who influence others in the group. They hold a key role in bringing the group to success. So, the leader is the one who is elected, appointed, praised by the people to be the leader. As a person who has knowledge and ability to lead or persuade others for works within the groups to achieve the goal set, he must perform virtues and morals strictly then he can teach or punish the others. Leader’s roles are planning, order, making decision, policy formation, control, supervise and systemizing the work with effectives as well as responsibility in various sections of work to reach success as its objectives. For administration of Thai Buddhist Sangha, according to the Sangha Act, Sangha holds the authority of control and promotion of the Sangha affairs. There are 6 types of Sangha council; 1) administration, 2) religious education, 3) educational welfare, 4) propagation, 5) public service, 6) public services. Cambodian administration of Sangha was appointed by government that Somdet Mahasangharaja or Sanghanayoka must select the qualified Bhikkhus in the Sangha in council along ง with other secondary Bhikkhus in the rank of council to be provincial position and others respectively in every province. Administravitve Bhikkhus hold the official authority to administrate the Sangha’s six affairs as found in Thai Buddhist Sangha council. The Buddhist principles used to promote the leadership of Sangha in Buddhism shown that Sangha leader must perform these virtur principle of Buddhism as followings; prejudice 4, Papanikadhamma 3, Iddhipada 4, Pahusutta 5, Bhavana 4, Kalayanamitta 7, Principle of Dhammakathika 5, 4 ways of Buddha’s teaching technique, Sappaya 7, Brahmaviharadhamm 4 and Sanghavatthu 4. These virtures must also be applied for Sangha administration in all 6 Sangha affairs including was used to manage the business of the monks in six aspects, including administration, religious education, educational welfare, propagation, public service and public walfare. In aspect of leadershipknowledge in the Buddhist Sangha council in the ASEAN community in case study of Thailand and Cambodia, it found that The knowledge gained from this research is ‘APIBB K DDSBS Model’ which is considered to be valuable and important for the presentation of leadership knowledge of the of the Buddhist Sangha in the ASEAN Community, they are (1) "A" (Agati 4) means the administrative leader should study the non-bias 4 (2) "P" (Papanika-Dhamma 3) = administrative leader must avoid the 3 wholesome acts, (3) "I" (Iddhipada 4 ) =religious education leader o should perform the 4 success principle, (4) "B" (Bahussutanga 5) = religious education leader should follow 5 learning skills, (5) “B” (Bhavana 4 )= educational welfare leaders should practice the principle of 4 developments, (6) "K" (Kalanamitta-dhamma 7) ) = educational welfare leaders should follow principle of 7 good friends, (7) "D" ( leader of Buddhism should be a core principle of Trrmkt ึk 5 (8) "D" (Dhammadesaka-Dhamma 5) = Buddhism propagation leader should be skillful in 5 principle of Dhamma teaching, (8) ‘D’ (Desanavidhi 4) = Budhism propagation leader must contain 4 ways of Buddha’s teaching, (9) "S" (Sappaya 7) = the public service leader should 7 comfort principle, (10) "B" (Brahmavihara 4 ) = the public service leader should follow virtues 4, (11) "S" (Sangahavatthu 4 ) = the social welfare leader should perform Sangahavatthu 4 |
Description: | 261 หน้า |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1055 |
ISSN: | MCU RS 610760303 |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย (Research reports) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
รายงานการวิจัย ภาวะผู้นำด้านการปกครองคณะสงฆ์ในอาเซียน.pdf | 7.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.