Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดร.ธานี, สุวรรณประทีป-
dc.contributor.authorพระศรีสุทธิเวที (ขวัญ ถิรมโน), แดงหน่าย-
dc.contributor.authorพระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี)-
dc.date.accessioned2022-08-25T06:59:36Z-
dc.date.available2022-08-25T06:59:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.issnMCU RS 800763089-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1054-
dc.description453 หน้าen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อุปาสกชนาลังการด้าน ประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และการจารลงใบลาน (๒) เพื่อปริวรรตคัมภีร์อุปาสกชนาลังการจากต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์อุปาสกชนาลังการด้านการปฏิบัติตนของอุบาสกอุบาสิกา การศึกษา และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิง เอกสารโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ นำคัมภีร์อุปาสกชนาลังการที่เป็นภาษาบาลีอักษรขอมฉบับหอสมุดแห่งชาติ ปริวรรตให้เป็นบาลีอักษรไทยและแปลเป็นภาษาไทย จากนั้นจึงวิเคราะห์คัมภีร์ในด้านคุณค่า ประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และการจารลง ใบลาน และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องของอุบาสก-อุบาสิกา ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์อุปาสกชนาลังการที่นำมาในการปริวรรตเป็นฉบับหอสมุด แห่งชาติ ใบลานเลขที่ ๓๖๘๙/ข/๑-๓ ต. ๑๘ ช. ๒ มี ๓ ผูก อักษรขอม ภาษาบาลี เส้นจารหน้าละ ๕ บรรทัด พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จารด้วยไม้ประกับทาชาด เรียกว่า ฉบับล่องชาด รวมอยู่กับเลขที่ ๓๖๘๗ /ก ขุทฺทกนิกาย มีลายเส้นปรากฏชัดเจน สามารถย่อขยายได้ จัดเรียงโครงสร้างเนื้อหาเป็น ๙ หมวดหมู่ มีลักษณะการประพันธ์ ๒ อย่างคือ ๑) แบบร้อยแก้ว เป็นการดำเนินเรื่องตามธรรมดา ๒) แบบร้อยกรอง เรียกว่าคาถาบ้าง เรียกว่า ฉันท์ หรือ ฉันทลักษณ์ ในคัมภีร์อุปาสกชนาลังการส่วนใหญ่เป็นคาถาปัฐยาวัตรส่วนการวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์ที่มีต่อหลักการปฏิบัติตนที่เหมาะสมของอุบาสกอุบาสิกา คุณค่าด้านการศึกษาและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย พบว่า พระภทันตอานันทมหาเถระชาวสิงหล ผู้แต่งคัมภีร์ได้อธิบายข้อประพฤติปฏิบัติตนของอุบาสก-อุบาสิกาในฐานะเป็นเครื่องประดับตกแต่งส าหรับอุบาสก-อุบาสิกา ประกอบด้วยหลักธรรม ๙ หมวด คือ ๑) สรณะ การพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุด ๒) ศีล การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย ๓) ธุดงค์ ข้อวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างละเอียด ๑๓ ข้อ ๔) สัมมาอาชีวะ ไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการเป็นต้น ๕) บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ มีทานที่ให้แล้วมีผลเป็นต้น ๖) อันตรายิกธรรม การว่าร้าย ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นต้น ๗) โลกิยสัมปัตติสมบัติที่เป็นโลกิยะตามที่ตนปรารถนา ๘) โลกุตตรสัมบัติสมบัติที่เป็นโลกุตระคือการบรรลุมรรคผลตามที่ตนปรารถนา ๙) ความสำเร็จแห่ง ผลบุญ มีคุณค่าด้านการศึกษาและการเผยแพร่พระพุทธศาสนา The purposes of this research are; (1) to study Upāsakajanālankāra scripture in aspect of author, content’s structure, composition style, language and palm leaf inscribing, (2) transliterating Upāsakajanālankāra scripture from original Pali-lKhmer language into Pali-Thai letters and translating into Thai version, (3) to analyze Upāsakajanālankāra influencing to the right practical codes for Buddhist laity, education, and Buddhism propagation. It was a documentary research by taking the original Upāsakajanālankāra written in Pali-lKhmer from National Library of Thailand, transliterating into Pali-Thai and again translating into Thai version with analyzing the value in aspect of the author’s bibliography, structure, contents, composition style, idioms, and the right practical codes for Buddhist laity. The findings were that the transliterating of original Upāsakajanālankāra scripture with 3 ties taken from of the National Library of Thailand, palm leaf no. 3689/ข/1-3 ต. 18 ช. 2. from Pali-Khmer into Pali-Thai, inscribing 5 lines in one page, ร inscribed with dotted wood applied with cinnabar by Phraya Srisahathep (Thongpeng) called Longchad version included in No. 3687/ ก Khuddakanikaya which clear line. Its contents were divided into 9 sections, appear in 2 types of composing; 1) prose or common essay, 2) poet called Gāthā, Chanda or Chandalakkhana, mostly appears in Patthayavatta verse. An analysis of the scripture influencing to the proper practical codes for Buddhists, education, and Buddhism propagation in Thailand revealed that Ven. Bhadanta Anandamahathera, a Sinhalese Bhikkhu, had explained the righteous code of practice for Buddhists praised as most valuable ornament and jewely for all Buddhists which was divided into 9 parts, i.e., 1) Saraṇa or Triple Gem referring to right refuge of Buddhists, 2) Sīla or moral codes for bodily and verbal actions, 3) Dhutanga or 13 austere practices for mental purifying, 4) Sammā-ājiva or right livelihood consisting of avoiding 5 types of wrong business etc., 5) Puññakiriyāvatthu ค or bases of meritorious action such as charity etc., 6) Antarāyikadhamma or the dangers such as slander, blaming those Noble One etc., 7) Lokiyasampatti or the wished worldly wealth, 8) Lokuttarasampatti or the wished transcendent property, and 9) the merit accomplishment. These teachings maintain great value for education and Buddhism propagation.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.titleคัมภีร์อุปาสกาชนาลังการ : การปริวรรต การแปล และการวิเคราะห์en_US
dc.title.alternativeUpasakachanalungkara : Transliteration Translation and Analysisen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.