Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1046
Title: คัมภีร์สีมาวิโสธนี: การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์
Other Titles: Sīmāvisodhanī: Transliteration. Translation. and Analysis
Authors: พระศรีสุทธิเวที, แดงหน่าย
วิโรจน์, คุ้มครอง
พระมหาวัฒนา, ปญฺญาทีโป
Keywords: คัมภีร์สีมาวิโสธนี
การปริวรรต
Issue Date: 2564
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สีมาวิโสธนีในด้านประวัติผู้ เรียบเรียง โครงสร้างเนื้อหา หลักไวยากรณ์ และความสัมพันธ์กับคัมภีร์อื่น ๆ (๒) เพื่อปริวรรตคัมภีร์ สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อศึกษา วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์ เป็นการวิจัยเชิง เอกสารโดยมีวิธีด าเนินการวิจัยคือ มีการวิเคราะห์คัมภีร์ในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา หลักไวยากรณ์ น าคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่เป็นภาษาบาลีอักษรพม่าปริวรรตให้เป็นบาลีอักษรไทยและแปล เป็นภาษาไทย วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์ ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์สีมาวิโสธนีเป็นคัมภีร์ว่าด้วยการช าระสีมา อธิบายเรื่องสีมาที่ บริสุทธิ์ถูกต้องตามพระวินัย กล่าวคือเขตที่ก าหนดขึ้นเพื่อเป็นที่ให้สงฆ์ประชุมท าสังฆกรรมมีการ อุปสมบทเป็นต้น พระสาครพุทธิเถระแต่งอธิบายใน ๕ หัวข้อคือ อุปสมบทกัณฑ์กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์สมสีสีกัณฑ์และปกิณณกกัณฑ์มีลักษณะของการประพันธ์เป็น ๒ แบบ คือ แบบร้อย แก้ว (การด าเนินเรื่องแบบธรรมดา) และแบบร้อยกรอง (การด าเนินเรื่องในรูปแบบคาถา) ท่านมี ความรู้และความเข้าใจในภาษาบาลีเป็นอย่างดีได้แต่งคัมภีร์โดยใช้นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และอัพพย ศัพท์ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และหลักไวยากรณ์ วิธีการปริวรรตบาลีอักษรพม่าใช้เขียนภาษาบาลีเขียนจากซ้ายไปขวา รูปอักษรมีลักษณะ โค้งมนค่อนข้างกลม การเรียนรู้ถึงรูปอักษรพม่าอันประกอบด้วย พยัญชนะ สระ ตัวเลข ผู้ศึกษาต้อง ฝึกหัดเขียนสระ พยัญชนะ พร้อมทั้งการประสมค าต่าง ๆ และต้องสามารถถ่ายถอดหรือปริวรรตบาลี อักษรพม่าให้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา ส่วน ความสัมพันธ์คัมภีร์สีมาวิโสธนีกับคัมภีร์อื่น ๆ คือ พระสาครพุทธิเถระชาวพม่าได้แต่งคัมภีร์สีมาวิ โสธนีมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก โดยน าค าส าคัญในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และ คัมภีร์วิสุทธิมรรคมาอธิบายในคัมภีร์สีมาวิโสธนีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ท าการปริวรรต คัมภีร์สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย อุปสมบทกัณฑ์กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์สมสีสีกัณฑ์ปกิณณกกัณฑ์ส าเร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ท าการแปลจากภาษาบาลีอักษรไทยเป็นภาษาไทยในอุปสมบทกัณฑ์กัปวินาศกัณฑ์นิพพานกัณฑ์สมสีสีกัณฑ์และปกิณณก กัณฑ์ส าเร็จเรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์แบ่ง ออกเป็น ๑) วิเคราะห์เรื่องสีมาในคัมภีร์สีมาวิโสธนีสีมา สีมา คือ เขตความพร้อมเพรียงของสงฆ์ใน การท าสังฆกรรมต่าง ๆ ที่ส าคัญ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตสีมา และทรงก าหนดให้พระสงฆ์สาวกต้อง ประชุมท าร่วมกันในบริเวณที่ก าหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสเข้ามายุ่งเกี่ยว ในคัมภีร์สีมาวิโสธนี กล่าวถึงสีมาทั้งหมด ๑๙ ชนิด เช่น ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา เป็นต้น ๒) วิเคราะห์ คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมของพระสงฆ์ทรงบัญญัติพระวินัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเรื่อง สีมากับการสวดปาติโมกข์เช่น ภิกษุทั้งหลายพากันสวดปาฏิโมกข์ทุกวัน พระพุทธเจ้าตรัสห้ามและ ทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้ท าเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้สวดเฉพาะวันอุโบสถ เป็นต้น และ ๓) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อสังฆกรรมของพระสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงมีพระ ประสงค์ที่จะให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารคณะ และท าสังฆกรรมต่าง ๆ คือกิจที่จะต้องท าเป็นการ สงฆ์ กล่าวคือสงฆ์จะต้องรับรู้ในกรรมที่ท าเหล่านั้น เรียกว่า สังฆกรรมมีอยู่ ๔ ประเภทคือ ๑) อปโลกนกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ไม่ต้องท าภายในสีมา ส่วน ๒) ญัตติกรรม ๓) ญัตติทุติย กรรม และ ๔) ญัตติจตุตถกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ต้องท าภายในสีมา ตัวอย่างเช่น การ อุปสมบทเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติจตุตถกรรมที่พระสงฆ์ต้องท าภายในสีมา เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้ สงฆ์ท า ถ้าสงฆ์มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่มีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน ผู้ที่จะบวชนั้นก็จะส าเร็จเป็น พระภิกษุโดยสมบูรณ์และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้ โดยต้องผ่านเครื่องมือที่ส าคัญคือสีมาจึงจะ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
Description: 467 หน้า
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1046
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.