Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหานันทกร, ปิยภาณี,ดร.-
dc.contributor.authorพระมหาพรชัย, สิริวโร, ผศ.ดร.-
dc.contributor.authorพระมหาขวัญชัย, กิตฺติเมธี,ผศ.ดร.-
dc.contributor.authorดร.เพ็ญพรรณ, เฟื่องฟูลอย-
dc.date.accessioned2021-07-24T05:38:32Z-
dc.date.available2021-07-24T05:38:32Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/103-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “พุทธจริยธรรมกับแนวทางการแก้ปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการอุ้มบุญในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการอุ้มบุญในสังคมไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทยตามหลักพุทธจริยธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการทำวิจัยทำให้ทราบว่า ในสังคมไทยมีการแก้ปัญหาการมีบุตรยากสามารถทำได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ แต่ต่อมาได้ใช้นำมาใช้กับการอุ้มบุญ โดยการนำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายที่ว่าจ้างให้ตั้งครรภ์มาฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกของหญิง ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น และมีข้อสัญญาที่แต่ละฝ่ายจะตกลงกันก่อนที่จะมีการรับอุ้มบุญ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านต่างๆ คือ ปัญหาด้านศีลธรรมทางศาสนาว่าการอุ้มบุญแม้จะอ้างถึงการเกิดจากครรภ์ก็ตาม แต่เป็นการเกิดขึ้นที่ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เป็นไปตามเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ประเด็นปัญหาเหล่านี้ การฆ่าชีวิตเซลในการวิจัยต้นกำเนิด ปัญหาด้านจริยธรรมเรื่องทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ ปัญหาด้านกฎหมายเรื่องปัญหาด้านสิทธิในเรื่องเด็ก ความเป็นบิดามารดา ความชอบธรรมเรื่องสัญญาจ้างอุ้มบุญปัญหาทางจริยธรรม หลักพุทธจริยธรรมกับปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทย เป็นการนำหลักพุทธจริยธรรมมาพิจารณาร่วมกับปัญหาการอุ้มบุญในด้านกฎหมาย เรื่องตัวบทกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องศีลธรรมอันดีของประชาชน และในแง่ของบุคคลทางกฎหมายนั้นพิจารณาถึงเจตนาของสามีภริยาผู้ขออุ้มบุญและหญิงอุ้มบุญ ส่วนปัญหาด้านการแพทย์ เป็นการมุ่งไปที่เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ โดยพุทธจริยธรรมอาจไม่ได้ใส่ใจในแง่การเกิดแต่สนใจว่าเกิดแล้วควรปฎิบัติตนให้ดีตามหลักธรรม และจริยธรรมทางการแพทย์ที่ต้องมีเจตนาที่ดีในการปฎิบัติหน้าที่ และจริยธรรมเชิงสังคมที่มุ่งเน้นความสุขสงบในสังคม อีกทั้งจริยธรรมส่วนบุคคลที่อาจพิจารณาไปถึงการหลีกเลี่ยงการทำอุ้มบุญ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทยตามหลักพุทธจริยธรรม คือ การแก้ไขปัญหาทางด้านกฎหมายด้วยหลักมรรค คือ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ เพื่อเป็นการพิจารณาข้อห้ามและข้ออนุญาตในการอุ้มบุญอย่างถูกต้อง แก้ปัญหาเรื่องสิทธิด้วยหลักเจตนาอันประกอบด้วยฉันทะและเมตตา แก้ปัญหาทางด้านแพทย์ด้วยการเข้าใจหลักพีชนิยาม หลักศีลในข้อห้ามฆ่าสัตว์และประพฤติผิดในกาม และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยหลักโยนิโสมนสิการก่อนการตัดสินใจทำการอุ้มบุญ และแก้ปัญหาจริยธรรมทางการแพทย์ด้วยหลักสัปปุริสธรรม เพื่อเข้าใจหลักการและข้อกำหนดต่างๆ ให้เหมาะสมกับการอุ้มบุญ สุดท้ายคือด้านศีลธรรมอันดีตามหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยหลักพรหมวิหาร ๔ หลักทิศ หลักสังคหวัตถุ ๔ ให้เกิดธรรมะเจริญขึ้นเมื่อมีการอุ้มบุญ และพิจารณาไปถึงปัญหาการอุ้มบุญที่สาเหตุคือความอยากด้วยการไม่ควรทำการอุ้มบุญ แต่ควรดับทุกข์ภายในของผู้ต้องการอุ้มบุญen_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธจริยธรรมen_US
dc.subjectอุ้มบุญen_US
dc.titleพุทธจริยธรรมกับแนวทางการแก้ปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeBuddhist Ethics and Guidelines for Solving Problem of Surrogacy in Thai Societyen_US
dc.typeBooken_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research Reports)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
รายงานวิจัย อุ้มบุญ.pdfงานวิจัยเพื่อตอบปัญหาเชิงจริยธรรมในสังคม1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.