Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1036
Title: | กระบวนทัศน์ใหม่เรื่องกรรมในฐานะโอกาสของการพัฒนาตนเอง |
Other Titles: | New Paradigm of Kamma as the Chance of Self-Improvement |
Authors: | พระมหาอุดร, สุทธิญาโณ ธานี, สุวรรณประทีป ชัยชาญ, ศรีหาหู |
Keywords: | กรรม โอกาส การพัฒนาตน สังขาร |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | วารสารเซนต์จอห์น Saint John's Journal |
Abstract: | ความเชื่อเรื่องกรรมของชาวพุทธในปัจจุบันแตกต่างจากหลักคําสอนเดิม เพราะได้รับอิทธิพล แนวคิดเทวนิยมและปัจเจกนิยมเชิงวัตถุวิสัยที่มองว่า มนุษย์เป็น “ผู้ถูกกระทํา” และกลายเป็น “ผู้มีบาป จะต้องถูกลงโทษ” ความจริงหลักกรรมคือ โอกาสของการพัฒนาจิตให้เป็นอิสระและการถูกทําโทษ พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงที่กําลังปรากฏขึ้นกับจิตในขณะปัจจุบันเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับอํานาจ ของเทวนิยมใด ๆ การคิด ความเชื่อและความเข้าใจ เป็นต้น จัดเป็นความคิดปรุงแต่ง (สังขาร) ซึ่งตกอยู่ ในภาวะเกิดและดับ แต่เนื้อหาของสังขารทําการผูกโยงมโนภาพที่เกิดจากสัญญา ทําให้มีเส้นแบ่งระยะเวลา เป็นอดีต อนาคต ซึ่งเกิดจากความหลง กรรมตามความเข้าใจของคนทั่วไปจึงนําไปสู่อัตตานุทิฏฐิ ภวทิฏฐิซึ่ง เป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง ความเข้าใจผิดนี้เกิดจากการมองหลักกรรมเชิงหลักการแบบวัตถุวิสัยมากกว่า สภาวะความจริงแบบอัตวิสัยในขณะปัจจุบัน กรรมคือสภาวะของความคิดเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่เป็นไปอยู่ใน ขณะปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาสติปัญญาเพื่อกั้นไม่ให้หลงยึดเนื้อหาของความคิดเป็นตัวตน จิตคือ กระบวนการของกรรมวัฏฏซึ่งมีแรงผลักคือกุศลหรือ อกุศล เกิด-ดับและเสวยวิบากทุกขณะจิตใน ปัจจุบัน ดังนั้น กรรมคือโอกาสในการเปลี่ยนคุณสมบัติของจิตจากอกุศลจิตเป็นกุศลหรือจากกุศลเป็นอกุศล จิตขึ้นอยู่กับความเห็นถูกหรือความเห็นผิด |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1036 |
Appears in Collections: | บทความ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
กระบวนทัศน์ใหม่เรื่องกรรมในฐานะโอกาสของการพัฒนาตนเอง-หน้า-6-26.pdf | 7.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.