Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1035
Title: มโนทัศน์เรื่องเกณฑ์ความดีในพุทธปรัชญา
Other Titles: The Concept of Good in Buddhist Philosophy Context
Authors: พระมหาวิจิตร, กลยาณจิตโต
สมหวัง, แก้วสุฟอง
Keywords: มโนทัศน์
เกณฑ์ความดี
พุทธปรัชญา
Concept
Good Judgement
Buddhist Philosophy
Issue Date: 28-Jul-2016
Abstract: เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดีและกรรมชั่วในแง่ของกรรมให้ถือเอาเจตนาเป็นหลักตัดสินว่าเป็น กรรมหรือไม่ และในแง่ที่ว่ากรรมนั้นดีหรือชั่ว ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ 1.เกณฑ์หลัก ตัดสินด้วยความเป็นกุศลหรืออกุศลโดยพิจารณามูลเหตุว่า เป็นเจตนาที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโล ภะ อโทสะ อโมหะ หรือเกิดจากอกุศลมูลคือ โลภะ โทสะ โมหะ พิจารณาจากสภาวะว่า เป็น สภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทําให้จิตใจสบาย ไร้โรคปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์หรือไม่ ส่งเสริมหรือปั่นทอนคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ช่วยให้กุศลธรรมทั้งหลายงอกงามขึ้น อกุศล ธรรมทั้งหลายลดน้อยลง หรือทําให้กุศลลดน้อยลง อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้น ตลอดจนมีผลต่อบุคลิกภาพอย่างไร 2. เกณฑ์ตัดสินร่วม เป็นข้อที่นํามาประกอบตัดสินโดยให้มี การกลั่นกรองอย่างละเอียดเพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกชั้นหนึ่ง คือ พิจารณาความยอมรับของ วิญญชน หรือตําหนิติเตียน พิจารณาลักษณะและผลของการกระทําที่เกิดขึ้นต่อตนเองและต่อ ผู้อื่นโดยดูว่า เป็นการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น ทําให้ตนเองหรือหรือผู้อื่นให้เดือดร้อน หรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือเป็นไปเพื่อทุกข์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น The criterion of good action in the sense of karma is considered as the principle of volition as the standard judgement. To know whether that actions are good or bad, one must consider the followings; 1) main principle which is judged by wholesome or unwholesome consciousness which is volition rooted by non-greed, non-hatred, non delusion or unwholesome rooted by greed, hatred, delusion. It considers the state of consciousness beneficial to mental and physical condition, happiness, non-sick, perfect etc. or it reduces wholesomeness or disables mental quality or whether it grows unwholesomeness effected to personality, 2) joined principle which should be brought to judgement for details consideration. It considers the opinions of wises, manners and fruits of actions happened to oneself and others by observing whether it harms oneself and others, disturbing and being beneficial to oneself and others.
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1035
Appears in Collections:บทความ



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.