Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1031
Title: คัมภีร์ปทสังคหะ : การตรวจชําระและการศึกษาวิเคราะห์
Other Titles: Padasangaha : Edition and Analytical Study
Authors: รศ.ดร.เวทย์, บรรณกรกุล
พระศรีสุทธิเวที
พระเทพปริยัติมุนี ผศ.ดร
Keywords: ไวยากรณ์บาลี
ปทสังคหะ
Pali grammar
Padasangaha
Issue Date: 2559
Publisher: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาเนื้อหาโครงสร้างคัมภีร์ปทสังคหะ ผลการวิจัยพบ ว่า คัมภีร์ปทสังคหะนี้ รจนาโดยพระอาทิจจวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาทิจจวงศ์ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ พระอาทิจจวงศ์เป็นพระภิกษุผู้มีวิริยะอุตสาหะยิ่งนัก กล่าวกันว่าท่านชอบอ่านตําราวิชาการจนบางคราวมิได้จําวัด หลายวัน และได้ศึกษาพระไตรปิฏกจบถึง ๔๐ รอบ ในบั้นปลายชีวิตของท่านได้เปิดหลักสูตรสอนพระไตรปิฎกโด ย่อ 5 เดือน และได้สอนหลักสูตรนี้หลายครั้งจนถึงวาระสุดท้าย คัมภีร์ปทสังคหะ แปลว่า “ประมวลบท” หมายถึง การรวบรวมบทในภาษาบาลีทั้ง ๔ อย่าง คือ นาม อาขยาต อุปสรรค และนิบาต คัมภีร์ปทสังคหะจัดอยู่ในกลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ที่ไม่อ้างสูตร โดยส่วนมากแต่งเป็นคาถา เพื่อสะดวกต่อการท่องจํา ทําความเข้าใจ ลําดับขั้นตอนนําเสนอไม่ซับซ้อน มีลักษณะอาศัยปทมาลาจากคัมภีร์ต้นแบบ เช่น คัมภีร์กัจจายนะ ปทรูปสิทธิ์ และสัททนี้ติไวยากรณ์ เป็นต้น และอาศัยเนื้อความบางส่วนจากคัมภีร์กลุ่มสุโพธาลังการบ้าง คัมภีร์สัท ทัตเภทจินตาเป็นต้นบ้าง ดังนั้น ผู้วิจัย จึงได้นําเสนอความเชื่อมโยงของเนื้อความในคัมภีร์ ปทสังคหะ 5 วิภาคแรก ที่เป็นส่วน สยาทุยนุต วิภาคที่ ๗ เป็นตยาทุยนุต และ ๒ วิภาคสุดท้ายกับคัมภีร์ที่อาศัยหรือจะเรียกว่าคัมภีร์ต้นแบบ ในการรจนาคัมภีร์ปทสังคหะ เช่น การกระจายบท บทที่นํามากระจายตาม การแสดงลักษณะอาขยาต เป็นต้น This research paper's objective is to study the background history and contents of Pada sangaha scripture. The findings are that Pasangaha scriptures was composed by Venerable Adic cavong, the late abbot of Adiccavong monastery, Yangon, the Republic of the Union of Myanmar Ven. Adiccavong was acclaimed as a great diligent bhikkhu. It was said that he had read aca demic texts until he forgot sleeping for several days. He had completed reading Tipitaka 4 rounds and officially opened Tipitaka Studies curriculum (six months course) and taught severa times until the end of his life. “Padasangha' word means 'glossary of Pali term' which means collection of 4 Pali components including noun, verbal conjugation, prefix and suffix. This Padasangaha scripture was categorized in grammatic group without Sutta. They al almost verses for purpose of easily memorizing and understanding without complex patterns.
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1031
Appears in Collections:บทความ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
คัมภีร์ปทสังคหะ วิเคราะห์แปล.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.