Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1026
Title: การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์ สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
Other Titles: An Analysis of a Method of the Buddha’s Teachings Explanation Based on Natipakarana for Graduate Students of Palisueksabuddhaghosa Nakhon Pathom Campus
Authors: สุภีร์, ทุมทอง
พระเทพสุวรรณเมธี
พระมหาวัฒนา, คำเคน
Keywords: เนตติปกรณ์
หาระ
นยะ
สาสนปัฏฐาน
Issue Date: 29-Apr-2564
Abstract: บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อ ศึกษาคัมภีร์เนตติปกรณ์ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์ (3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์ส าหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา ผลการวิจัยพบว่า เนตติปกรณ์เป็นคัมภีร์ที่แสดงหลักการอธิบายพุทธพจน์ด้านพยัญชนะและอรรถะ เพื่อให้เข้าใจอริยสัจ 4 ที่อยู่ในพระพุทธพจน์ ซึ่งน าเวไนยสัตว์เข้าสู่นิพพาน โครงสร้างเนื้อหาของ คัมภีร์มี 3 ส่วนคือ (1) หาระ 16 เป็นหลักการอธิบายพระพุทธพจน์ด้านพยัญชนะ (2) นยะ 5 เป็น วิธีการน าเนื้อความอริยสัจ 4 ออกแสดง (3) สาสนปัฏฐาน 16 และสาสนปัฏฐาน 28 เป็นหลักการจัด หมวดหมู่พระพุทธพจน์โดยอาศัยเนื้อหาสาระเป็นส าคัญโดยมีมูลบท 18 เป็นฐานในการประกอบเข้า กับอริยสัจ การอธิบายตามแนวเนตติปกรณ์ คือ (1) อธิบายพยัญชนะโดยการประกอบหาระ 16 (2) พิจารณาทิศทางของธรรมทั้งฝ่ายสังกิเลสและโวทานจากการอธิบายด้านพยัญชนะด้วยทิสาโลจน นัย (3) ยกหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกันมาเพื่อใช้ในการอธิบายด้วยอังกุสนัย (4) อธิบายเนื้อความแยก ธรรม 2 ฝ่ายให้ชัดเจนแล้วสรุปลงอริยสัจ 4 ด้วยนัย 3 ได้แก่ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัยและสีหวิกกีฬิ ตนัย ส่วนการจัดหมวดหมู่ด้วยสาสนปัฏฐานท าให้เข้าใจเนื้อหาพุทธพจน์ท าให้การอธิบายด้านหาระ และนยะได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่ออธิบายตามนัยเนติปกรณ์ท าให้เกิดความมั่นใจคือ (1) พยัญชนะไม่ ผิดพลาด (2) อรรถะไม่ผิดพลาด การอธิบายไม่ออกนอกแนวอริยสัจ 4 ท าให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ถือเป็น รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ที่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต้องศึกษา
Description: 78-94 pp.
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1026
ISSN: P-ISSN : 2539-5777
E-ISSN : 2651-0820
Appears in Collections:บทความ



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.